หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเด็นน่ารู้:เอดส์ ?

1. กระบวนการตรวจเลือดเอดส์แก่ผู้ป่วยทุกรายก่อนการผ่าตัดทั่วไป โดยผู้ป่วยไม่ทราบวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน จนถึงเมื่อทราบผลเลือด แล้วก็ไม่บอกผลให้ผู้ป่วยเข้าใจชัดแจ้งจะต้องรับผิดตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
¾ เป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย ในกรณีที่แพทย์แอบเจาะเลือดก่อนผ่าตัดและเมื่อพบว่าผลเลือดติดเชื้อเอดส์แล้วเปลี่ยนการรักษา น่าจะเข้าข่ายการเลือกปฏิบัติ เป็นการละเมิดข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 หมวด 1 ข้อ 3 และอาจถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพโดยไม่รักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมในระดับที่ดีที่สุด อันเป็นการละเมิดข้อบังคับแพทยสภา หมวด 3 ข้อ 1 อีกด้วย เพราะคณะกรรมการเอดส์แห่งชาติได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการตรวจเลือดเพื่อทดสอบ HIVไว้ว่า ต้องมีกระบวนการ pre-counseling และ post-counseling รวมถึงการวางแผนเรื่องบอกผลเลือดกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามความต้องการของผู้ป่วย.
¾ การละเมิดสิทธิผู้ป่วยดังกล่าว อาจต้องรับผิดตามกฎหมายวิชาชีพ คือถูกฟ้องร้องต่อแพทยสภาเรื่องจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และอาจถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง เป็นคดีละเมิดได้.
¾ แต่ในแง่ความผิดในคดีอาญานั้น ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นความผิดทางอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด.

2. ในกรณีผ่าตัดฉุกเฉิน และผู้ป่วยหมดสติ แพทย์มีสิทธิเจาะเลือดเพื่อตรวจเอดส์ก่อนทำหัตถการ หรือไม่
¾ แท้จริงแล้วการผ่าตัดหรือทำหัตถการใดๆ ควรใช้หลักการของ universal precaution แก่ผู้ป่วยทุกราย ไม่ว่าขณะนั้นจะตรวจเลือดแล้วพบว่าติดเชื้อหรือไม่ก็ตาม. แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต้องมีความระมัดระวังเรื่องการทำงานกับเลือดอย่างเต็มที่. การไม่ปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอาจเป็นความประมาทอย่างหนึ่งก็ได้.
¾ การตรวจเลือดเพื่อตรวจเอดส์ก่อนการผ่าตัดใดๆ ไม่น่าจะมีผลโดยตรงต่อการรักษาเพียงแต่มีผลต่อจิตใจผู้รักษา. การอ้างเรื่องการล้างเครื่องมือผ่าตัดและชุดผ่าตัดเป็นพิเศษเฉพาะรายที่ติดเชื้อเอดส์ไม่น่าจะถูกต้อง เนื่องจากผู้ติดเชื้อทางเลือดชนิดอื่นๆ ก็ควรถูกแยกเครื่องมือเช่นเดียวกัน.

3. การติดสัญลักษณ์หรือสติกเกอร์เพื่อบ่งบอกสภาพผู้ติดเชื้อไว้ที่ปกเวชระเบียน ถือเป็นการ ละเมิดสิทธิผู้ป่วยหรือเปิดเผยความลับผู้ป่วยหรือไม่
¾ การทำเครื่องหมายหน้าเวชระเบียนให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ถือว่าระบบเวชระเบียนของสถานพยาบาลนั้นผิด ที่เปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยอย่างโจ่งแจ้ง แต่การติดเป็นสัญลักษณ์บางอย่างเพื่อสื่อกันภายในหมู่ผู้ทำงานอาจจะทำได้แนบเนียนกว่า ทั้งนี้ต้องเป็นไปเพื่อผลการรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม. อย่างไรก็ตาม อาจบันทึกผลเลือดไว้ภายในเวชระเบียน โดยอยู่ในตำแหน่งหรือซองที่เย็บติดเพื่อให้ไม่ประเจิดประเจ้อเกินไป.
¾ อย่างไรก็ตาม ความลับผู้ป่วยไม่ใช่ความลับที่รู้กันเพียงสองคนระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย. การเปิดเผยข้อมูลให้ทราบถึงกันในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย ที่เป็นไปเพื่อการดูแลรักษาที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยจะไม่ถือว่าเป็นการเปิดเผยความลับของผู้ป่วย เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องเก็บรักษาความลับผู้ป่วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ว่าด้วยการเปิดเผยความลับผู้ป่วย กฎหมายมิได้เอาโทษเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ยังรวมถึงผู้ช่วยและ  นักศึกษาด้วย. ทุกสถานพยาบาลจึงควรมีการอบรมบุคลากรทุกระดับให้เข้าใจเรื่องหน้าที่ในการเก็บรักษาความลับผู้ป่วยและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะมีโทษทางอาญา.
¾ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องรับผิดทางอาญาแล้ว ยังต้องรับผิดต่อองค์กรวิชาชีพของตนเองด้วย กล่าวคือ แพทย์ต้องรับผิดต่อแพทยสภา พยาบาลต้องรับผิดต่อสภาการพยาบาล เป็นต้นhttp://www.doctor.or.th/node/8234

ใครเป็นเจ้าของเวชระเบียน

 เวชระเบียนถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถานพยาบาล   แต่ผู้ป่วยเป็นเจ้าของข้อมูลที่บันทึกและมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นได้
 ข้อมูลของผู้ป่วยดังกล่าวถือเป็นความลับ (Confidentiality) ห้ามมิให้เผยแพร่เว้นแต่ผู้ป่วยหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีหมายเรียกจากศาล
การให้ความยินยอม (Consent)
 เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด ถือว่าผู้ป่วยให้ความยินยอมโดยปริยาย (Implied consent) ที่จะให้หมอทำการตรวจร่างกาย เมื่อหมอสั่งให้ผู้ป่วยตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยก็ให้ความร่วมมือทันที ถือว่าเป็นการให้ความยินยอมโดยปริยายแล้วเช่นกัน

     การให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูล (Informed Consent)
 ในการรักษาที่มีความซับซ้อนเช่น จำเป็นต้องทำการผ่าตัดหรือตรวจหา H.I.V. การให้ความยินยอมโดยปริยายไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะต้องเซ็นยินยอมลงในแบบให้ความยินยอม (consent form) การให้ความยินยอมดังกล่าวผู้ป่วยจะต้องได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่เพียงพอก่อนการตัดสินใจลงชื่อ หากผู้ป่วยยอมลงชื่อย่อมหมายความว่าผู้ป่วยทราบว่า
- วิธีการรักษาจะเป็นอย่างไร
- ทำไมจึงต้องรักษาด้วยวิธีนั้น
- มีความเสี่ยงอย่างใด
- มีวิธีการรักษาแบบทางเลือกอื่น ๆ อีกไหม และวิธีนั้นมีความเสี่ยงไหม
- หากปฏิเสธไม่รักษาจะมีความเสี่ยงเพียงใดหรือไม่
การให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูล แสดงว่าผู้ป่วยทราบข้อมูลเพียงพอก่อนที่จะตัดสินใจรับการรักษาหรือปฏิเสธการรักษา ทั้งยังแสดงว่าผู้ป่วยได้กระทำโดยปราศจากการข่มขู่
สำหรับผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถจะต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล
เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน
     การให้ความยินยอมในกรณีฉุกเฉิน ( Emergency )
ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุรุนแรงต้องทำการผ่าตัดโดยเร่งด่วน และไม่สามารถ
ติดต่อญาติได้ทัน หมอสามารถทำการผ่าตัดผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม ถือว่าหมอได้กระทำโดยไม่จำเป็นหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หมอไม่ต้องรับโทษ
     การกระทำโดยประมาท  ( Negligence)
 คดีที่ฟ้องหมอส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความประมาท หากผู้เสียหายพิสูจน์ได้ว่าหมอกระทำโดยประมาทจริง หมออาจต้องรับโทษทั้งทางอาญา ซึ่งอาจจะต้องติดคุกติดตะรางหรือถูกปรับ และยังจะต้องรับโทษทางแพ่ง ซึ่งจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายอีกด้วย
ความรับผิดทางอาญาฐานกระทำโดยประมาท
 องค์ประกอบความรับผิดทางอาญาฐานกระทำโดยประมาทบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรค 4 ความว่า
 “กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
 หากพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำโดยประมาทจริง ผู้กระทำผิดอาจได้รับโทษทางอาญาหนักเบา แตกต่างกันดังนี้
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291   “ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้
ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และ
ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ”
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291   “ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท”
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390  “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
สำหรับความรับผิดทางแพ่งเป็นเรื่องความทางละเมิด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 บัญญัติว่า
 “ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นกระทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
 คำว่าประมาททางอาญากับประมาทเลินเล่อทางแพ่งมีความหมายเหมือนกัน   กล่าวคือเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง   ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดมะวังเช่นนั้นได้ แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่โดยเปรียบเทียบกับ
1. บุคคลที่มีความระมัดระวังตามฐานะในสังคมเช่นเดียวกับผู้กระทำผิด เช่นเด็กย่อมไม่อาจระมัดระวังได้เท่ากับผู้ใหญ่ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปอาจไม่ระมัดระวังได้ดีเท่ากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
2. พฤติการณ์ภายนอกทั่ว ๆ ไป คำพิพากษาำำฎีกาที่ 769/2510 : จำเลยเป็นหญิงอายุ 28 ปี ขับรถมาคนเดียวขณะหยุดรถรอสัญญาณไฟเมื่อเวลา 21 นาฬิกา มีคนร้ายเปิดประตูเข้าไปนั่งคู่และใช้ระเบิดมือขู่ให้ขับรถไป จำเลยตกใจขับรถฝ่าไฟออกไปชนรถที่แล่นสวนมาโดยไม่เจตนา พฤติการณ์เช่นนี้จะว่าการชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยไม่ได้
 จากตัวอย่างคำพิพากษาคดีนี้ เห็นได้ว่าเหตุที่จำเลยขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดงไปชนรถผู้เสียหายเป็นเพราะมีคนร้ายเปิดประตูเข้าไปนั่งคู่ จำเลยจึงเกิดอาการตกใจ ตามพฤติการณ์ดังกล่าว จะให้จำเลยใช้ความระมัดระวังเช่นปกติไม่ได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าจำเลยมิได้ประมาท http://www.lannatoday.net/index.php/-5/388-31-53-

แพทย์คิดเงินค่าเขียนใบเคลมประกันสุขภาพ

ญาติของผมไปรับการรักษาที่ รพ.รัฐบาลแห่งหนึ่ง และมีประกันสุขภาพกับบริษัทประกัน เมื่อการรักษาเสร็จสิ้นแล้วต้องให้แพทย์ผู้รักษาเป็นผู้เขียนใบเคลมประกัน เมื่อไปติดต่อเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งว่ามีค่าใช้จ่าย 200 บาท และเมื่อถามหาใบเสร็จจากทางโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่บอกว่า เป็นค่าเขียนของหมอ ไม่มีใบเสร็จ

1. โดยปกติแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐได้รับค่าตอบแทนการเขียนใบเคลมหรือไม่? หรือว่าเฉพาะบางโรงพยาบาล เท่านั้นที่คิดเงินกับผู้ป่วย?

2. ถ้าแพทย์สมควรได้รับค่าตอบแทนในการเขียนใบเคลม ใครควรเป็นผู้จ่ายเงินนี้ ผู้ป่วยหรือบริษัทประกัน?

3. กรณีข้างต้น ทำไมจึงไม่มีใบเสร็จ ร้องเรียนแพทยสภาได้หรือไม่?

โดยคุณ : พชม.29 - [ 28 มิ.ย. 2544 , 21:04:32 น. ]

ตอบ

เรื่องค่าธรรมเนียมการเขียนใบรับรองแพทย์ดังกล่าว ถูกกำหนดไว้ครับในระเบียบของแพทยสภาเลย ว่าแพทย์เรียกเก็บได้ เพราะ ไม่ได้เกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์ ที่จะทำให้ผู้ป่วยหาย แต่จะเขียนเพื่อทำให้สัญญาระหว่าง ผู้เอาประกันและบริษัทประกันสมบูรณ์ และเรียกค่าตอบแทนต่าง ๆ ( ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ) ก็มีเช่น หยุดกี่วัน ต้องรักษานานเท่าใด ทำงานไม่ได้กี่วัน ผู้รับประโยชน์ คือ ผู้เอาประกันนั่นเอง ซึ่งถ้ามีการเคลมกันเฉพาะค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล บริษัทประกัน ก็สามารถเอาเวชระเบียนและบันทึกทางการเงิน ของโรงพยาบาลไปตรวจสอบ แล้วจ่ายได้เลย

ปัญหาไม่ใช่แค่นั้น เนื่องจากบริษัทประกัน ต้องให้แพทย์ให้ความเห็นหยุมหยิม เยอะแยะมาก เพื่อที่จะจับผิดว่าการรักษาครั้งนั้น มีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ เช่น ไม่เจ็บจริงหรือเปล่า มีการตรวจหรือรักษาใดที่ไม่จำเป็นหรือเปล่า ซึ่งถ้าแพทย์เขียนมีพิรุธ แพทย์คนนั้น ต้องรับผิด แต่คนไข้ คนนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องรับผิด ถ้าไปบังคับหมอให้เขียนโกงบริษัทให้

ดังนั้น การเขียนนี้ ต้องมีค่าธรรมเนียมเหมือนการบริการ อย่างหนึ่ง โดยไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลใด ๆ และไม่มีการกำหนดในระเบียบโรงพยาบาลหรือระเบียบทางรัฐบาลใดๆ ให้แพทย์ต้องเขียน และแพทย์ไม่เขียนก็ไม่มีความผิดใด ๆ ดังนั้นผู้ป่วยต้องมาขอให้แพทย์เขียน เหมือนมาขอความเห็นผู้เชี่ยวชาญครับ ไม่ใช่บริการพื้นฐาน

แต่เดิม ทางโรงพยาบาลก็เก็บค่าธรรมเนียมส่วนนี้ เข้าเงินบำรุง แล้ว เอาออกมาจ่ายให้แพทย์อีกครั้ง แต่ถูกทักท้วงโดย สตง. ไม่ให้เอาเงินนี้ มาเกี่ยวข้องกับเงินบำรุง เงินนี้ จึงต้องจ่ายให้กับแพทย์โดยตรง และถ้าทวงถามถึงใบเสร็จรับเงิน ใบเคลมประกันที่เขียนเสร็จแล้ว นำเอาไปเบิกได้ ก็ไม่ต่างจากใบเสร็จรับเงินแหละครับ เพราะมีลายเซ็นแพทย์

1 ที่เขียนมาทั้งหมด ตอบคำถามข้อ1
2 ใครจะจ่าย ให้ตกลงกันตั้งแต่ ทำสัญญาประกันครับ
3 ร้องเรียนแพทยสภา ก็ได้ครับ ต่อไปแพทย์จะได้ไม่ต้องเขียนอีก ส่วนที่สงสัยว่าทำไมไม่มีใบเสร็จให้ถาม สตง.

โดยคุณ : dr luam - [ 29 มิ.ย. 2544 , 13:34:09 น.]

http://www.cmu2807.com/index.php?option=com_content&task=view&id=37&Itemid=33

เคล็ดลับวิธีป้องกันการถูกผู้ป่วยฟ้อง

            คงไม่มีแพทย์คนใดปฏิเสธว่าสิ่งที่กลัวมากที่สุดเรื่องหนึ่งในการประกอบวิชาชีพของเราคือ กลัวการถูกผู้ป่วยหรือญาติฟ้อง  แพทย์จำนวนไม่น้อยหันไปประกอบอาชีพอื่น บทความนี้เป็นการนำเสนอความรู้จากการอ่านตำราจากต่างประเทศและแนวทางการบริหารจัดการสมัยใหม่รวมทั้งจากประสบการณ์ของตนเองและของเพื่อนๆพี่ๆ ซึ่งอาจถือไม่ได้ว่าเป็นสูตรสำเร็จแต่ถ้าใครปฏิบัติได้ตามแนวทางดังกล่าวเชื่อว่าในชีวิตความเป็นแพทย์คงรอดพ้นจากการฟ้องร้องเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ 

1) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย / ญาติ
         หัวข้อนี้มีความสำคัญอย่างมาก  ดังนั้นเราต้องพูดมากขึ้น และมีservice  mind อยู่เสมอ

2)  inform ( เพื่อ consent )


  •    ให้ข้อมูลมากพอที่ผู้ป่วยสามารถใช้ตัดสินใจได้
  • บอก major risk/complications
  • อย่าให้ผู้ป่วยตั้งความหวังในผลการรักษาไว้ 100 %

 3) complete medical record


  • อ่านง่าย
  • รายละเอียดครบถ้วน
4)  ทำในขอบเขตวิชาชีพ
 คือหลีกเลี่ยงการทำในสิ่งที่เราไม่ชำนาญ   เช่น เป็นรังสีแพทย์ก็ไม่ควรไปทำคลอด  
       
5) equipment : กรณีมีการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ  ต้องศึกษาเรื่องต่อไปนี้ให้ละเอียด


  • วิธีใช้งาน                                                              
  • complication  ที่สามารถเกิดได้จากการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้น                               
  • maintenance  คือต้องรู้วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือนั้น               
 6) ให้ความร่วมมือกับ risk management program
  เป็นเรื่องที่แพทย์มักละเลยไม่ค่อยเห็นถึงความสำคัญ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก  ไร้สาระ หรือเป็นการจ้องจับผิด  ซึ่งที่จริงแล้วหากแพทย์ให้ความร่วมมือ กระบวนการของ  risk management  จะช่วยสร้างระบบและช่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยมากขึ้น

7) improve&maintain quality care
    คือต้องมีการประเมินคุณภาพบริการและพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เสมอ  เพื่อมุ่งหวังให้ผู้รับบริการพึงพอใจและปลอดภัย

8)ระมัดระวัง  รอบคอบ  รู้เท่าทัน

9) learning organization
    -continuous learning (up-to-date) หมายความว่าแพทย์จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง  ไม่ล้าหลัง เพราะถ้าทำการรักษาแบบเก่าอาจถือว่า ไม่ได้มาตรฐาน    โดยวิธีการหาความรู้นอกจากการอ่าน   textbook journalหรือการอบรมดูงานแล้ว    การทำcase conference, peer review  ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้เพราะจะเกิดการ  แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์โดยที่เราไม่รู้ตัว
            - หมายเหตุ    ในตำราทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ได้ห้ความสำคัญกับวัฒนธรรมขององค์กรที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมากเพราะจากการศึกษาองค์กรหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี  พบว่ามีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือองค์กรดังกล่าวมีการสร้างวัฒนธรรมจนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่วนองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นแม้ว่าจะประสบความสำเร็จได้แต่มักไม่มีความยั่งยืน

10)ทำตาม standard guidelines
            ปัจจุบันแผนกต่างๆมักมีการทำ clinical practice guideline ดังนั้นเมื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติในเรื่องนั้นๆขึ้นมาแล้วก็ผูกมัดให้แพทย์แผนกดังกล่าวปฏิบัติตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้  หากกระทำการเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานนั้นแล้วเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย ก็มักถูกมองว่าทำผิดมาตรฐานไว้ก่อน

11)ศึกษา&ทบทวนระเบียบ/ข้อตกลง
            เช่นเดียวกับเรื่อง practice guideline หน่วยงานต่างๆมักมีการกำหนดข้อตกลงหรือระเบียบปฏิบัติในเรื่องต่างไว้ซึ่งอาจเป็นการตกลงระหว่างหน่วยงานต่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกรวดเร็วหรือเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่นอาจมีการกำหนดว่าการย้ายผู้ป่วยหนักจาก ER ขึ้นICU ต้องมีแพทย์ตามไปส่ง ในกรณีนี้หากแพทย์ไม่ยอมไปส่งแล้วผู้ป่วยเกิดเสียชีวิตระหว่างอยู่ในลิฟท์ แพทย์อาจถูกฟ้องได้

12)หาความรู้กฎหมาย
เพื่อว่าจะได้รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรในบางสถานการณ์   เช่น
            ข้อบังคับของแพทย์สภา
            สิทธิผู้ป่วย
           ...ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่



นพ.พิทูร ธรรมธรานนท์
พบ. นบ.
เนติบัณฑิตไทย
www.medlawstory.com
ให้คุณรู้กฎหมายการแพทย์ได้ง่ายขึ้น



วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทำไม ? ห้ามเข้าห้องบัตร

*** ห้องบัตรคือพื้นที่จัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วย ซึ่งจัดเก็บความลับด้านสุขภาพของผู้ป่วย ***
คำประกาศสิทธิ์ผู้ป่วย ข้อ7ระบุว่า ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
       ข้อควรตระหนัก
      1.ไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการซึ่งได้ทราบมาจากการประกอบวิชาชีพเว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วย /ผู้ใช้บริการ หรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
      2.จัดเก็บรายงานไว้เป็นสัดส่วนไม่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ทีมสุขภาพหรือผู้ที่ไม่ได้รับรับการยินยอมจากผู้ป่วยได้เห็นข้อมูลทางสุขภาพของผู้ป่วย
      3.ไม่นำเรื่องของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการมาเป็นหัวข้อในการสนทนาโดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ป่วย  ยกเว้นต้องปฏิบัติตามหน้าที่



กรุณาอ่านเพิ่มเติมเรื่อง  คำประกาศสิทธิผู้ป่วย  และ ความลับผู้ป่วย


ภาพของท่าน สวยงามและสื่อความหมายได้ชัดเจน เราขออนุญาตนำภาพของท่านมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมนะคะ หากขัดข้องประการใด รบกวนโทร 089-1326770