หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวทางการบันทึกเวชระเบียน สำหรับทันตแพทย์

การบันทึกเวชระเบียนอย่างไรให้ครบถ้วน กระบวนความ อ่านทีไรนึกภาพออก ใครอ่านก็รู้เรื่อง ใครทำต่อก็เข้าใจ มีเรื่องอะไรก็ค้นง่ายสมบูรณ์ .. แบบไม่ยาก.. เพราะบางครั้งการรักษาที่เราคิดว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว สมบูรณ์แล้ว ก็เกิดปัญหา แต่ย้อนกลับมาดู จะมีอะไรบ้างที่เป็นตัวบรรยายสิ่งที่เราได้ทำไป.. ก็การบันทึกเวชระเบียนยังไงละคะ..และที่สำคัญเดี๋ยวนี้การรักษานั้นต้องเป็นไปตามมาตรฐานระดับชาติ ระดับโลก เช่น HA JCI อะไรต่างๆ .. ซึ่งการบันทึกเวชระเบียนนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการทำงานของเราอีกด้วยค่ะ .. ลองติดตามดูกันเลยนะคะ
ทันตแพทย์ เป็นผู้ซักประวัติ ตรวจวินิจฉัย วางแผนการรักษา ให้การรักษา และส่งต่อผู้ป่วยตามความเหมาะสม และทำการบันทึกข้อมูลเวชระเบียน ดังนี้ค่ะ
1. Chief Complaint
ระบุอาการสำคัญของคนไข้ที่มาพบ เช่น ฟันผุ ปวดฟัน เหงือกบวม ฟันเรียงตัวไม่สวย ฯลฯ ข้อมูลนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะสื่อให้ทราบถึงสิ่งที่คนไข้อยากให้เรารักษาแก้ไข
2. Present lllness
รายละเอียดของอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น ตำแหน่ง บริเวณที่ปวด ลักษณะการปวด อะไรกระตุ้น ระยะเวลา ฯลฯ จำพวกปวดบวมแดงร้อน หรือ อาการสำคัญ ต่างๆ ควรบันทึกไว้ เทียบภายหลังการรักษาได้
3. Clinical Findings
รายงานผลการตรวจฟัน/บริเวณที่เป็นอาการสำคัญ หรืออาการเจ็บป่วย รวมทั้งการตรวจฟันผุ, วัสดุบูรณะที่ไม่เหมาะสม, ฟันที่ถูกถอนไป, อวัยวะปริทันต์ และปัญหาอื่น ๆ ที่พบจากการตรวจใน/นอกช่องปาก ไม่ควรละเลย เพราะ ฟันที่มีพยาธิสภาพ ต่างๆ อาจมีผลเกี่ยวกับการวางแผนการรักษาได้
4. Radiographic Examination
X-ray เป็นสิ่งสำคัญที่พลาดไม่ได้.. ไม่ว่าจะเป็นงานศัลยกรรมช่องปาก งานรักษาราก จัดฟัน อุดฟัน ฯลฯ เพราะสิ่งที่เห็นด้วยตาเปล่า อาจมีสิ่งซ้อนเร้นซ่อนอยู่ ซึ่งอาจทำให้งานธรรมดา ไม่ธรรมดาได้
การถ่ายภาพรังสี ปัจจุบัน นิยมใช้ ระบบ digital ทั้ง 2 และ3 มิติเพราะ สะดวก คุณภาพความคมชัด เก็บรักษาง่ายและลดสารพิษจากระบบน้ำยาล้างฟิล์ม
  • การถ่ายภาพรังสี Periapical ให้เขียนระบุซี่ฟันนั้นๆ
  • การถ่ายภาพรังสี Bitewing (BW) ให้เขียนระบุด้านที่ถ่าย
  • การถ่ายภาพรังสีวิธีอื่นๆ เช่น OPG Lateral Ceph ฯลฯ
ให้ รายงานผลการตรวจจากภาพรังสีของ ฟัน / บริเวณที่เป็นอาการสำคัญหรือ อาการเจ็บป่วย รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่พบจากภาพรังสี
5. Diagnosis
บันทึก การวินิจฉัยโรคของฟัน/บริเวณที่เป็นอาการสำคัญ และโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่ตรวจพบ การให้คำวินิจฉัยโรคให้เป็นไปตามข้อมูล ICD 10 CODE. ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล
6. Treatment plan
  • วางแผนการรักษาทันตกรรมให้ครบตามที่วินิจฉัยโรคไว้ โดยมีเเนวทางการเลือกให้กับคนไข้ด้วย
  • ในกรณี อุดฟัน รักษารากฟัน ถอนฟัน ครอบฟัน ระบุซี่ฟันที่ต้องรับการรักษา
  • ในกรณี ใส่ฟัน ระบุตำแหน่งฟันหรือ arch หรือประเภทการใส่ฟัน
7. Verification , Mark site และ Time out
Verification
เป็นกระบวนการยืนยันความถูกต้องทุกครั้งก่อนการรักษาให้แก่คนไข้ ยิ่งโดยเฉพาะเวลามีการส่งคนไข้ไปยังเเพทย์ท่านอื่นที่รักษาต่อมา เพราะอาจผิดคน ผิดหัตถการผิดตำเเหน่งได้ !!!
( กรณีต้องฉีดยาชา ให้ทำก่อนการฉีดยาชา )
โดยทันตแพทย์ต้องตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด และ HN. ( กรณี รพ. )ของคนไข้
  2. สอบถามคนไข้หรือผู้แทน ถึงหัตถการที่จะทำ และตำแหน่งฟันที่จะทำ และต้องได้รับคำยืนยันจากคนไข้ หรือผู้แทนยืนยันว่าตรงกับบันทึกของทันตแพทย์
  3. เอกสารสำคัญ เช่น การเซ็นยินยอมการรักษา ในหัตถการที่มีความเสี่ยง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรายละเอียดของการรักษา ผลการรักษา ผลข้างเคียงต่างๆ ให้คนไข้รับทราบก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อคนไข้ได้นะคะ
  4. ฟิล์มเอ็กซเรย์
  5. รากเทียมหรืออุปกรณ์พิเศษอื่นๆ ที่ต้องใช้
Mark site
ระบุตำแหน่งฟันในช่องปาก หรือบริเวณที่จะทำการรักษาให้ผู้ป่วยรับทราบก่อนการรักษา และระบุตำแหน่งฟัน หรือบริเวณที่ทำการรักษาในแบบบันทึกเวชระเบียน
Time out
ทำการบันทึกในเวชระเบียนเพื่อแสดงการยืนยันขั้นสุดท้าย ก่อนเริ่มทำหัตถการ เพื่อยืนยันว่าจะให้การรักษาถูกคน ถูกตำแหน่ง และถูกหัตถการ ดังนี้
  • Patient หมายถึง การรักษาถูก
  • Site หมายถึง การรักษาถูกตำแหน่ง
  • Procedure หมายถึง การรักษาถูกหัตถการ
8. Treatment
บันทึกการรักษาทันตกรรมที่ให้ใน Visit นั้น
a) Tooth
ระบุซี่ฟัน หรือ Quadrant หรือตำแหน่งที่ทำให้ชัดเจน
b) Treatment
  • บันทึกรายละเอียดการรักษา ผลการตรวจพบหลังการรักษา
  • กรณีที่มีการใช้ยาชาให้ระบุชนิดยาชา ความเข้มข้นของสารบีบหลอดเลือด ปริมาณที่ใช้ทุกครั้ง
  • เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะให้การรักษา บันทึกรายละเอียดของการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการให้การรักษาเพื่อแก้ไขภาวะนั้น
  • กรณีมีการให้ยา ให้บันทึกการสั่งยา (ชนิดยา / ขนาดยา / จำนวนยา ) การใช้ยาทุกครั้ง
  • กรณีที่ต้องการบันทึกค่าใช้จ่ายของแผนการรักษาที่แจ้งต่อผู้ป่วย ให้บันทึกไว้ในช่องนี้
  • กรณีที่มีการสั่งยา บันทึก ชนิดยา ขนาดยา จำนวนยา ทุกครั้ง
  • กรณีที่ต้องการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม ให้บันทึกไว้ในช่องนี้
c) บันทึกค่าใช้จ่ายของการรักษา ใน Visit นั้น
เพื่อจะได้เป็นข้อมูลที่สามารถเช็คราคา ยอดชำระ ยอดคงเหลือได้ และเช็คข้อมูลกรณีเบิกหน่วยงานต่างๆได้
9. Reassessment
การประเมินซ้ำหลังให้การรักษา ดังนี้
Pain score ประเมินความเจ็บปวด ทำในกรณีต่อไปนี้
  • ผู้ป่วยทุกรายที่มีความเจ็บปวดก่อนการรักษา
  • ผู้ป่วยทุกรายหลังทำหัตถการ
บันทึก Pain score ลงในเวชระเบียน
Bleeding หลังทำหัตถการ
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหรือศัลยกรรมช่องปาก ต้องได้รับการประเมิน Bleeding หลังทำหัตถการทุกครั้ง ว่าปกติหรือไม่ หากไม่ปกติเขียนระบุอาการที่พบ
  • หากจำเป็นต้องประเมินภาวะอื่นเพิ่มเติม ให้เขียนรายละเอียด
10. OHI / Post - op care Instruction
บันทึกข้อมูลการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในเวชระเบียนทุกครั้ง การให้ทันตสุขศึกษาคำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการรักษา หรือข้อมูลอื่นๆที่จำเป็น กรณีให้คำอธิบายและให้ใบคำแนะนำ หลังการรักษา เขียนระบุการรักษา หากมีข้อมูลเพิ่มเติมบันทึกในช่องอื่นๆ
11. Referral
  • การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ระบุสาขาแพทย์
  • การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรักษากับทันตแพทย์เฉพาะทาง ระบุสาขาทันตแพทย์ และแผนการรักษา
12. Next visit
  • กรณีนัดหมายต่อเนื่อง ระบุแผนการรักษา เวลาในการรักษา ระยะนัดหมายในครั้งต่อไป ทุกครั้ง
  • กรณีการรักษาเสร็จสมบูรณ์ ให้เขียนระบุระยะเวลาการ Recall ( Recall 3 เดือน , 6 เดือน )
13. Signature
ลงชื่อทันตแพทย์ผู้รักษาทุกครั้ง เพื่อจะได้ทราบชื่อเเพทย์ผู้ทำการรักษา
หมายเหตุ
  1. ถ้าเป็นไปได้ควรบันทึก เวลาเข้า - ออกจากห้องตรวจเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงของการรักษา
  2. การบันทึกความดันโลหิตและชีพจร (Reassessment)
    กรณีที่มีการผ่าตัด / ศัลยกรรมช่องปาก ให้พยาบาลวัดความดันโลหิตและชีพจร หลังจากทำ หัตถการแล้ว 10 ถึง 15 นาที ให้บันทึกค่าที่ได้และเวลาที่วัด ใน note
  3. กรณีคนไข้ไม่มาตามนัด ให้บันทึกในช่อง note ของใบเวชระเบียนครั้งสุดท้ายที่ผู้ป่วยมา จะได้ติดตามนัดรักษาต่อ เพื่อให้การรักษาสมบูรณ์ ครบตามแผนที่วางไว้ เช่น รักษาราก จัดฟัน ฯลฯ ที่ต้องรักษาต่อเนื่อง
เป็นอย่างไรบ้างคะ รายละเอียดคงจะไม่มากจนเกินไปนะคะ อย่างน้อยให้ความสำคัญกับการบันทึกเวชระเบียนนะคะ เหมือนบันทึกประวัติศาสตร์การทำงานของเรา ถ้าละเอียด...อ่านง่าย เข้าใจดี.. อนาคตก็จะดีสดใสแน่นอนค่าาาา ... ไว้พบกันฉบับหน้านะคะ. .. สวัสดีค่ะ

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวทางปฏิบัติทั่วไปสำหรับเจ้าหน้าที่ทุกคนที่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยของโรงพยาบาล

แนวทางปฏิบัติทั่วไปสำหรับเจ้าหน้าที่ หมายถึง แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและความลับผู้ป่วย ที่เจ้าหน้าที่ทุกคนที่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วย ต้องปฏิบัติให้ได้อย่างน้อยตามแนวทางปฏิบัตินี้ รวม  9 เรื่อง คือ

1. เจ้าหน้าที่ทุกคนมีหน้าที่ต้องป้องกัน ดูแล รักษาไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้อง และความพร้อมใช้ของข้อมูล ตลอดจนเอกสารเวชระเบียนของผู้ป่วย

2. ห้ามเผยแพร่ ทำสำเนา ถ่ายภาพ เปลี่ยนแปลง ลบทิ้ง หรือทำลายข้อมูลผู้ป่วย ในเวชระเบียนและในระบบคอมพิวเตอร์ทุกกรณี นอกจากได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจากผู้อำนวยการ

3. การแก้ไขข้อมูลผู้ป่วย ให้ดำเนินการได้ตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการแก้ไขข้อมูลโดยเคร่งครัด เช่น หากเขียนผิดห้ามใช้ปากการะบายสีทึบทับข้อความจนไม่เห็นข้อความเดิม ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิดในเวชระเบียนผู้ป่วย การแก้ไขทำได้โดยการลากเส้นทับข้อความเดิมเพียงเส้นเดียว แล้วเขียนข้อความที่แก้ไขไว้ใกล้กับข้อความเดิม พร้อมลงนามกำกับ และวันเวลาที่แก้ไข สำหรับการแก้ไขข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ห้ามลบข้อมูลเดิมทิ้ง แต่ให้ทำเครื่องหมายว่ามีการแก้ไข แล้วเชื่อมโยงข้อมูลที่เพิ่มเติมแก้ไขให้รู้ว่าข้อความใหม่ใช้แทนข้อความเดิมอย่างไร

4. การส่งข้อมูลผู้ป่วยให้กับบุคลากรภายในสถานพยาบาลเดียวกัน ให้ดำเนินการตามระเบียบการส่งข้อมูลลับโดยเคร่งครัด เช่น ไม่ใช้ให้ผู้ป่วยเป็นผู้ถือเวชระเบียนจากจุดบริการหนึ่งไปยังจุดอื่นๆ

5. ห้ามส่งข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้ช่องทางที่ไม่เหมาะสม เช่น ส่งทาง LINE หรือ Social Media

6. ตั้งรหัสผ่านในการเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองให้คาดเดาได้ยาก ตรงตามระเบียบของสถานพยาบาล ปกปิดรหัสผ่านเป็นความลับส่วนตัวอย่างเคร่งครัด ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นนำรหัสผ่านของตนเองไปใช้ เปลี่ยนรหัสผ่านเมื่อถึงกำหนดเวลาที่บังคับ

7. ห้ามใช้คอมพิวเตอร์ของสถานพยาบาลเปิดไฟล์จากภายนอกทุกกรณี สำหรับการเปิดไฟล์งานจากหน่วยงานภายในให้ตรวจหาไวรัสภายในไฟล์ทุกครั้งก่อนเปิดไฟล์

8. ห้ามนำเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเช่น CD-ROM, USB Drive,External Hard Disk อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Hub, Switch, Wi-Fi Router ฯลฯ มาเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายของโรงพยาบาลที่ใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วย ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการ

9. ห้ามใช้คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลที่เชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลผู้ป่วย ในการติดต่อกับอินเทอร์เน็ตทุกกรณี ยกเว้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีภารกิจเฉพาะที่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตพร้อมกันกับการเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลผู้ป่วย ซึ่งได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการ



http://thcc.or.th/download/audit59/Audit_2.pdf

มาตรฐานการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลในสถานพยาบาล

มาตรฐานการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) และมาตรฐานการบันทึกข้อมูล(Data Recording)

บทที่ 1. หลักการพื้นฐานการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง การสอบถาม ขอข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งข้อมูล โดยแหล่งข้อมูลที่สำคัญของสถานพยาบาลได้แก่ ผู้ป่วยและญาติ ที่ต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำแก่แพทย์และเจ้าหน้าทีของสถานพยาบาล เพื่อนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาโรคหรือส่งเสริมสุขภาพให้ไดผลที่ดี การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยและญาติที่สถานพยาบาลจะเกิดขึ้นหลายครั้ง หลายแผนก เช่น เมื่อแรกเข้ามาในโรงพยาบาล ฝ่ายต้อนรับหรือแผนกทะเบียนผู้ป่วยก็จะต้องสอบถามชื่อ นามสกุล เพื่ค้นหาประวัติเก่า หากเป็นผู้ป่วยใหม่ ก็ต้องสอบถามที่อยู่ เลขประจำตัว สถานภาพสมรส ชื่อบิดา มารดา ฯลฯ เพื่อลงทะเบียนผู้ป่วยเมื่อมาที่ห้องตรวจแพทย์ พยาบาลก็จะซักประวัติการเจ็บป่วย เมื่อพบแพทย์แพทย์ก็จะซักประวัติการเจ็บป่วยเพิ่มเติม ตรวจร่างกาย เมื่อได้รับใบสั่งยา ไปที่ห้องจ่ายยา เภสัชกรก็จะซักถามประวัติการแพ้ยา ความเข้าใจในการใช้ยา ฯลฯ เหล่านี้ จะเห็นได้ว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลจะเกิขึ้นที่หลายจุดในโรงพยาบาล โดยมีผู้ที่ปฏิบัติงานหลายตำแหน่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวข้อมูลซึ่งต้องมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ไม่ขาดตกบกพร่องไปวิธีการเก็บรวบรวข้อมูล มีวิธีการที่แตกต่างกันได้ 5 วิธี ได้แก่
1. การลงทะเบียน
2. การให้ตอบแบบฟอร์มหรืแบบสอบถาม
 3. การซักถามหรือสมั ภาษณ์
4. การสังเกตโดยตรงจากผู้เก็บรวบรวมข้อมูล และ
5. การดูรายงานจากแหล่งอื่น

1A. การลงทะเบียน
การลงทะเบียน หมายถึง การขอข้อมูลจากผู้ป่วยแล้วบันทึกลงไปในสมุดทะเบียนหรือฐานข้อมูลเพื่อให้มีรายชื่อของผู้ป่วยพร้อมรายละเอียดที่สำคัญเข้าไปอยู่ในทะเบียนนั้น เช่น เมื่อแพทย์นัดผ่าตัดผู้ป่วยเจ้าหน้าที่ผู้ดูและทะเบียนนัดผ่าตัดจะขอข้อมูลผู้ป่วยแล้วบันทึกชื่อผู้ป่วยพร้อมรายละเอียดสำคัญบางเรื่องไว้ในทะเบียนนัดผ่าตัด เมื่อถึงเวลาที่ต้องจัดคิวเข้าห้องผ่าตัด ก็จะเปิดดูรายชื่อในทะเบียนแล้วดำเนิการจัดคิวผ่าตัดได้โดยสะดวก ตัวอย่างทะเบียนที่มีใช้ในสถานพยาบาล ได้แก่
- ทะเบียนผู้ป่วยใหม่
- ทะเบียนผู้ป่วยใน
- ทะเบียนนัดตรวจแผนกผู้ป่วยนอก
- ทะเบียนนัดผ่าตัด
- ทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ทะเบียนนัดติดตามผลหลังการรักษา

1B. การให้ตอบแบบฟอร์มหรือแบบสอบถาม
การขอข้อมูลจากผู้ป่วยอาจทำได้โดยการให้ผู้ป่วยตอบแบบฟอร์มหรือแบบสอบถาม โดยมีหัวข้อที่สำคัญอยู่ในแบบฟอร์ม แล้วให้ผู้ป่วยกรอกข้อมูลเข้าไป การใช้วิธีนี้จะช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการเก็บรวมรวมข้อมูล เช่น เมื่อผู้ป่วยใหม่เพิ่งมารับบริการเป็นครั้งแรก จะได้รับแจกแบบฟอร์มการลงทะเบียนผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยกรอก ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ ชื่อบิดา ชื่อมารดา สถานภาพสมรส อาชีพสัญชาติ ศาสนา ฯลฯ เข้าไปในแบบฟอร์มก่อนส่งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อ แต่วิธีนี้อาจมีข้อจำกัดในกรณีที่ผู้ป่วยเขียนหนังสือไม่ได้ จากข้อจำกัดทางร่างกายหรือสติปัญญา ตัวอย่างแบบฟอร์มหรือแบบสอบถามที่มีใช้ในสถานพยาบาลได้แก่
- แบบฟอร์มลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่
- แบบฟอร์มขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในทะเบียนผู้ป่วย
- แบบสอบถามความพึงพอใจในการให้บริการ

1C. การซักถามหรือสัมภาษณ์
การซักถามหรือสัมภาษณ์ เป็นการ พูดคุย สอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยโดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้ถามตามหัวข้อสำคัญที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า วิธีการนี้มีข้อดี คือ สะดวกต่อผู้ป่วย รวดเร็ว แต่มีข้อจำกัดในกรณีที่สื่อสาด้วยคำพูดไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยต่างชาติ หรือผู้ป่วยที่พูดไม่ได้จากข้อจำกัดทางร่างกายหรือสติปัญญา นอกจากนั้น ผู้ที่ซักถามต้องได้รับการฝึกฝนวิธีการซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญครบถ้วนภายในเวลาที่จำกัด ตัวอย่างการซักถามหรือสัมภาษณ์ที่ใช้ในสถานพยาบาลได้แก่
- เจ้าหน้าที่เวชระเบียนสอบถามข้อมูลผู้ป่วยเพื่อทำบัตร
- พยาบาลสอบถามอาการเจ็บป่วยเพื่อพิจารณาว่าจะส่งตรวจที่แพทย์แผนกใด
- แพทย์ซักถามประวัติการเจ็บป่วยเพื่อนำประวัติมาวินิจฉัยโรค
- เจ้าหน้าที่ห้องยาสอบถามประวัติและอาการแพ้ยาในอดีต

1D. การสังเกตโดยตรงจากผู้เก็บรวบรวมข้อมูล
การสังเกตโดยตรง เป็นวิธีการที่ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลสังเกตลักษณะ ท่าทาง หรือตรวจร่างกายตรวจวัดสัญญาณตา่ งๆจากตวั ผู้ป่วย โดยวิธที ี่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า เป็นวิธีการที่ใช้กันมาในสถานพยาบาล เช่นการตรวจร่างกายผู้ป่วยโดยแพทย์ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการสังเกตโดยตรงจากแพทย์ เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายผู้ป่วย แพทย์จะใช้การดู คลำ เคาะ และฟังส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อค้นหาอาการแสดงผิดปกติ แล้วบันทึกไว้เป็นผลการตรวจร่างกาย เพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยโรคต่อไป ตัวอย่างการสังเกตโดยตรงที่ใช้ในสถานพยาบาลไดแ้ ก 
- การตรวจวดั อุณหภูมิร่างกาย วัดความดัน จบั ชีพจรของผู้ป่วย
- การตรวจวัดสายตา วัดความหนาของชั้นไขมัน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
- การตรวจเอ็กซเรย์ อัลตราซาวนด์
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ

1E. การดูรายงานจากแหล่งอื่น
การดูรายงานจากแหล่งอื่น หมายถึง รายงานที่ผู้ป่วยนำมาให้ดูหรือผู้เก็บรวบรวมข้อมูลขอดู เช่นแพทย์ซักประวัติผู้ป่วย ได้ความว่าผู้ป่วยซื้อยามากิน 2-3 อย่าง แพทย์อาจขอดูตัวยา ชื่อยาหรือฉลากยา ก็ถือว่าเป็นการดูรายงานจากแหล่งอื่นเช่นกัน บางครั้งผู้ป่วยอาจนำผลการเอ็กซเรย์ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผู้ป่วยเคยไปตรวจมาจากสถานพยาบาลอื่นมาให้แพทย์ดู รายงานจากแหล่งอื่นที่พบบ่อยในสถานพยาบาลไดแ้ ก 
- จดหมายส่งต่อ จากแพทย์ในสถานพยาบาลอื่น รายงานผลการตรวจวินิจฉัยครั้งก่อน
- ผลการตรวจเอ็กซเรย์ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผู้ป่วยนำมาจากสถานพยาบาลอื่น
- ซองยา ฉลากยาที่ผู้ป่วยซื้อหรือได้มาจากร้านขายยาหรือสถานพยาบาลอื่น
- ผลการตรวจทางพยาธิวิทยา บอกลักษณะเซลล์มะเร็ง ที่รายงานมาจากพยาธิแพทย์ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลอื่น

การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆนี้ จะทำให้ได้ข้อมูลที่มาจากหลายแหล่งเข้ามาอยู่ด้วยกันในเวช
ระเบียนของผู้ป่วย โดยทั่วไป ข้อมูลในทะเบียนต่างๆจะมาจากการลงทะเบียน ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยจะมาจากการกรอกแบบฟอร์มและการสอบถามเพิ่มเติม ข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยจะมาจากการซักถามสัมภาษณ์ ข้อมูลการตรวจร่างกายจะมาจากการสังเกตโดยตรง สิ่งที่ควรระวังคือ ข้อมูลที่มาจากแหล่งอื่นควรบันทึกไว้ต่างหากให้เห็นว่าเป็นข้อมูลที่ผปู้ ่วยนาํ มา เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผปู้ ว่ ยนำมาจากสถานพยาบาลอื่น ควรบันทึกแยกไว้ให้เห็นชัดเจนว่า เป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งอื่น

บทที่ 2. หลักการพื้นฐานการบันทึกข้อมูล (Data Recording)
การบันทึกข้อมูล หมายถึง การทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่นำเสนอได้ เผยแพร่ได้ ทำสำเนาได้โดยทั่วไปการบันทึกจะบันทึกไว้ในสื่อบันทึกข้อมูล ได้แก่ กระดาษ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ รวมถึงการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ การบันทึกข้อมูลทำให้เกิดหลักฐานที่เชื่อถือได้ ใช้อ้างอิงและนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างสารสนเทศและความรู้ใหม่ๆได้โดยสะดวกการบันทึกข้อมูล ถือเป็นหน้าที่หลักของบุคลากรทุกฝ่ายในสถานพยาบาล และถือเป็นจรรยาของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกๆฝ่ายที่ต้องถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพโดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย ต้องบันทึกไว้ให้ครบถ้วน ถูกต้อง มีรายละเอียดที่ดีภายในเวลาที่กำหนด

ปัจจุบันการบันทึกข้อมูลในสถานพยาบาล มีรูปแบบที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไป 3 รูปแบบ คือ
1. การบันทึกข้อมูลลงกระดาษ
2. การบันทึกข้อมูลเข้าในระบบฐานข้อมูล และ
3. การบันทึกข้อมูลเป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายละเอียดแต่ละรูปแบบดังนี้

2A. การบันทึกข้อมูลลงกระดาษ
การบันทึกข้อมูลลงกระดาษ เป็นการบันทึกที่ทำกันมานานแล้ว ตั้งแต่เกิดสถานพยาบาลแผนปัจจุบันในประเทศไทย เริ่มจากใบสั่งยาที่แพทย์จะต้องบันทึกชื่อยา ขนาดและวิธีใช้ยาที่สั่งให้กับผู้ป่วยโดละเอียดเพื่อส่งให้เภสัชกรไปจัดยาให้กับผู้ป่วย นอกจากนั้น ทุกสถานพยาบาลจะมีสมุดบันทึกกิจกรรมการดูแลรักษาผู้ป่วยที่แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆจะจดบันทึกกิจกรรมการดูแลรักษาผู้ป่วยทุกรายลงสมุด เมื่อบันทึกจนสมุดเล่มเก่าเต็ม ก็จะเปลี่ยนสมุดเป็นเล่มใหม่ แล้วจัดเก็บสมุดเล่มเก่าไว้อย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถดึงกลับมาค้นหาข้อมูลได้เมื่อต้องการโดยสะดวกต่อมาเมื่อมีระบบเวชระเบียน เช่น บัตรผู้ป่วย (OPD Card) หรือ แฟ้มผู้ป่วยใน (In-patient File)แล้ว แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆก็ต้องจดบันทึข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วยแต่ละราย ส่วนใหญ่จะบันทึกข้อมูลเป็นตัวอักษรและตัวเลข บางครั้งแพทย์อาจวาดรูปแสดงตำแหน่งร่างกายที่มีอาการผิดปกติ หรือวาดรูปแสดงลักษณะการผ่าตัด เป็นรูปประกอบคำบรรยายที่เป็นตัวหนังสือ เมื่อสถานพยาบาลนำพิมพ์ดีดเข้ามาใช้ เจ้าหน้าที่บางฝ่ายจะใช้วิธีพิมพ์ข้อมูลเข้าไปในเวชระเบียนแทนการเขียน ทำให้ข้อมูลในเวชระเบียนอ่านง่ายกว่าการเขียนด้วยลายมือ

การบันทึกข้อมูลลงกระดาษมีข้อดีคือ บันทึกได้โดยง่าย ทำได้โดยใช้เพียงปากกาเขียนลงกระดาษ ไม่ต้องใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีข้อปฏิบัติมาตรฐานการบันทึกข้อมูลลงกระดาษสำหรับสถานพยาบาลดังนี้

2A.1 ข้อปฏิบัติมาตรฐานการบันทึกข้อมูลลงกระดาษสำหรับสถานพยาบาล
ข้อเสียของการบันทึกข้อมูลลงกระดาษได้แก่ มีโอกาสสูญหายหรือข้อความเลอะเลือนได้โดยง่ายลายมือบางคนอ่านไม่ออก การทำสำเนากระดาษเก็บไว้มีต้นทุนสูงกว่ารูปแบบอื่น

2A.1 ข้อปฏิบัติมาตรฐานการบันทึกข้อมูลลงกระดาษสำหรับสถานพยาบาล
1. บันทึกด้วยปากกา หรือ เครื่องพิมพ์เท่านั้น ห้ามใช้ดินสอ
2. บันทึกด้วยลายมือบรรจง หรือ กึ่งบรรจง ให้อ่านง่าย
3. มีการลงวันและเวลาที่บันทึก กำกับข้อความที่บันทึกเสมอ
4. บันทึกข้อความที่มีรายละเอียดชัดเจน ไม่บันทึกกำกวมหรือไม่มีรายละเอียด เช่น บันทึกเพียงว่า จ่ายยาเดิม หรือ RM โดยไม่มีรายละเอียดอื่นใด
5. ไม่บันทึกคำย่อ หรือ สัญลักษณ์ที่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานของสถานพยาบาล(สถานพยาบาลควรกำหนดคำย่อและสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ใช้ในการบันทึกข้อมูล หากคำย่อหรือสัญลักษณ์ใด ไม่อยู่ในรายการ ให้ถือว่าเป็นคำย่อหรือสัญลักษณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน)
6. บันทึกเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นโดยทันทีหรือหลังจากจบเหตุการณ์ไม่นาน เช่น เมื่อรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินจนปลอดภัยแล้วต้องบันทึกการรักษาโดยทันที
7. ลงชื่อผู้บันทึกให้อ่านได้โดยง่ายว่าใครเป็นผู้บันทึก หากใช้ลายเซ็นต้องมีข้อความกำกับว่าเป็นใคร หรือมสี มุดทะเบียนลายเซ็นที่สามารถตรวจสอบลายเซน็ ได้ว่าเป็นลายเซ็นของใคร
8. หากต้องการแก้ไขข้อความที่บันทึก ให้ทำการแก้ไขโดยการขีดเส้นตรง 1 เส้นทบั ข้อความเดมิเขียนข้อความใหม่ แล้วลงนามกำกับการแก้ไข ห้ามแก้ไขโดยการขูดข้อความเดิม หรือ ลบด้วยวิธีการใดๆ ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิดแก้ไขข้อความ

2B. การบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
การบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล เริ่มเกิดขึ้นในสถานพยาบาลของประเทศไทยในราวปี พ.ศ.2530 เป็นต้นมาหลังการนำคอมพิวเตอร์และโปรแกรมระบบโรงพยาบาลเข้ามาใช้ การบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลมีข้อเสียคือ ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถบันทึกได้ และผู้ใช้ต้องมีทักษะการใช้แป้พิมพ์อย่างดีจึงจะบันทึกข้อมูลในอย่างสะดวก รวดเร็ว นอกจากนั้น การเรียกดูข้อมูลก็จะต้องเรียกดูผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยกเว้นจะสั่งพิมพ์ข้อมูลที่บันทึกออกมาเป็นกระดาษ จึงจะดูได้ในแฟ้มเวชระเบียนข้อดีของการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล คือการทำให้ข้อมูลพร้อมใช้ในเวลาเดียวกันหลายๆจุดเช่น แพทย์หลายคนที่ช่วยกันดูแลรักษาผู้ป่วยรายเดียวกัน สามารถเรียกดูข้อมูลผู้ป่วยพร้อมๆกันได้จากคอมพิวเตอร์คนละเครื่องในเวลาเดียวกัน ลดปัญหาการอ่านลายมือไม่ออก นอกจากนั้น การใช้คอมพิวเตอร์บันทึกทำให้สามารถใช้การคัดลอกและตัดแปะ (copy and paste) ได้ ทำให้การพิมพข้อความรูปแบบเดียวกันที่มีข้อความยาว สามารถดำเนินการได้สะดวก รวดเร็วในปัจจุบัน สถานพยาบาส่วนใหญ่ในประเทศไทย ขอความร่วมมือให้แพทย์บันทึกข้อมูลผู้ป่วยเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล โดยมีจำนวนแพทย์ที่ให้ความร่วมมือมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้บริหารโรงพยาบาลบางคนคิดว่าจะยกเลิกการใช้กระดาษบันทึกข้อมูล อย่างไรก็ตาม การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่สำคัญทั้งหมดยังไม่สามารถบันทึกโดยคอมพิวเตอร์ได้ครบถ้วน เช่น ผลการตรวจร่างกายที่แพทย์อาจต้องวาดภาพประกอบยังไม่สามารถวาดภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ได้ หรือ การบันทึกคำวินิจฉัยโรคเข้าไปในระบบฐานข้อมูล บางโปรแกรมยังทำไม่ได้ (มีความเข้าใจผิดคิดว่าการใส่รหัส ICD เข้าไปคือการบันทึกคำวินิจฉัยโรค) สถานพยาบาลจึงยังไม่ควรยกเลิกการใช้กระดาษบันทึกข้อมูลผู้ป่วย หากพบว่า โปรแกรมบันทึกข้อมูลยังไม่ได้มาตรฐานที่จะทำให้ยกเลิกการใช้กระดาษได้
ดังมาตรฐานการตรวจสอบโปรแกรมบันทึกข้อมูลในสถานพยาบาลก่อนยกเลิกการบันทึกกระดาษในหัวข้อ 2B.1ก่อนสั่งยกเลิกการบันทึกกระดาษในสถานพยาบาล ผู้บริหารต้องจัดให้มีกระบวนการทดสอบว่า การใช้โปรแกรม แทนการเขียนกระดาษ สามารถทำให้แพทย์บันทึกข้อมูลได้ปริมาณเท่ากับการเขียนกระดาษ หากตรวจสอบพบว่าการใช้โปรแกรมทำให้แพทย์บันทึกข้อมูลได้น้อว่าการเขียนกระดาษก็ยังไม่ควรสั่งยกเลิกการบันทึกในกระดาษ เช่น การเขียนผลการตรวจร่างกายใกระดาษทำได้โดยสะดวกกว่าการใช้โปรแกรมบันทึกผลการตรวจร่างกาย หากใช้โปรแกรมแล้วแพทย์ไมบันทึกผลการตรวจร่างกายเลย ก็จะทำให้ข้อมูลสำคัญหายไป

2B.1 มาตรฐานการตรวจสอบโปรแกรมบันทึกข้อมูลในสถานพยาบาลก่อนยกเลิกการบันทึกกระดาษ
2C. การบันทึกข้อมูลเป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์
การบันทึกข้อมูลเป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงพยาบาล
เช่นเดียวกับการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล การบันทึกข้อมูลเป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์จึงมีข้อเสีย
เหมือนกับการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล กล่าวคือ ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถบันทึกได้และผู้ใช้ต้องมีทักษะการใช้แป้นพิมพ์อย่างดีจึงจะบันทึกข้อมูลในอย่างสะดวก รวดเร็ว นอกจากนั้น การเรียกดู
2B.1 มาตรฐานการตรวจสอบโปรแกรมบันทึกข้อมูลในสถานพยาบาลก่อนยกเลิกการบันทึกกระดาษ
1. ตรวจสอบว่าโปรแกรมมีช่องให้บันทึกข้อมูลครบตามรายการข้อมูลมาตรฐานที่ต้องบันทึกของกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ เช่น ต้องมีช่องให้บันทึกชื่อโรค ไม่ใช้รหัส ICD มาบันทึกแทนชื่อโรค
2. โปรแกรมต้องมีการลงวันและเวลาที่บันทึก กำกับข้อความที่บันทึกเสมอ
3. โปรแกรมต้องไม่มีระบบอัตโนมัติที่ทำให้เกิดการบันทึกข้อความที่กำกวมหรือไม่มีรายละเอียดเช่น บันทึกเพียงว่า จ่ายยาเดิม หรือ RM โดยไม่มรี ายละเอยี ดอื่นใด
4. โปรแกรมต้องมีระบบตรวจสอบการใช้คำย่อ หรือ สัญลักษณ์ที่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานของสถานพยาบาล (สถานพยาบาลควรกำหนดคำย่อและสญั ลักษณ์ที่อนญุ าตให้ใช้ในการบันทึกข้อมูล หากคำย่อหรือสัญลักษณ์ใด ไม่อยู่ในรายการ ให้ถือว่าเป็นคำย่อหรือสัญลักษณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน)
5. โปรแกรมต้องมีระบบตรวจสอบและบันทึกว่าใครเป็นผู้บันทึกรายการ บันทึกเมื่อใด
6. โปรแกรมจะต้องไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ลบรายการที่บันทึกไว้แล้วออกไปจากฐานข้อมูล หากต้องการแก้ไขข้อความที่บันทึก ให้เพิ่มข้อความเป็นรายการใหม่ แล้วทำเครื่องหมายยกเลิกและแก้ไขรายการเก่าโดยมีหมายเลขอ้างองิ ว่ารายการใหมท่ แี่ ก้ไขใช้ทดแทนรายการเก่าหมายเลขใด พร้อมบันทึกชื่อผู้แก้ไขและวันเวลาที่แก้ไข
7. ระบบฐานข้อมูลต้องมีการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยขั้นสูงสุด มีการทำสำเนาข้อมูล มีระบบ log ที่บันทึกการเข้าไปแก้ไขฐานข้อมูลหรือสำเนาฐานข้อมูลทุกรายการ ข้อมูลก็จะต้องเรียกดูผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยกเว้นจะสั่งพิมพ์ข้อมูลที่บันทึกออกมาเป็นกระดาษ จึงจะดูได้ในแฟ้มเวชระเบียนการบันทึกข้อมูลเป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์มักจะเก็บข้อมูลไว้แยกจากข้อมูลในเวชระเบียนและข้อมูลในฐานข้อมูล จึงมักจะอยู่แยกแผนก เช่น ข้อมูลรายงานผลการตรวจทางรังสีวิทยา อาจเก็บในรูปแฟ้มMicrosoft Word Document ที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของรังสีแพทย์เท่านั้น หากข้อมูลเหล่านี้ไม่ถูกจัดการอย่างเหมาะสม จะทำให้เกิดผลเสีย คือ ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในระบบเวชระเบียนหรือฐานข้อมูลกลางของสถานพยาบาล หรือใช้ข้อมูลร่วมกันหลายๆแผนกได้การจัดการข้อมูลที่จัดบันทึกเป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์แยกเก็บไว้ในแผนกต่างๆนั้น ควรมีมาตรฐานการจัดการดังข้อ 2C.1
2C.1 มาตรฐานการจัดการข้อมูลที่จัดเก็บเป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์แยกไว้ในแผนกต่างๆ
2C.1 มาตรฐานการจัดการข้อมูลที่จัดเก็บเป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์แยกไว้ในแผนกต่างๆ
1. ดำเนินการลงทะเบียนให้ทราบว่าข้อมูลที่จัดเก็บเป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์แยกไว้ในแผนกต่างๆ
นั้น มีข้อมูลอะไร เก็บไว้ที่แผนกใดบ้าง
2. หากข้อมูลที่เก็บแยกไว้เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น รายงานผลการตรวจทางรังสีวิทยา ให้พิมพ์เป็นรายงานออกมาเก็บไว้ในเวชระเบียนผปู้ ่วยแต่ละรายทุกครงั้ ที่จัดทำรายงาน
3. จัดการให้มั่นใจว่ามีการสำรองแฟ้มข้อมูลที่ขึ้นทะเบียนไว้เป็นระยะๆ ตรวจสอบไฟล์ที่สำรองว่าใช้ได้จริงอยู่เสมอ
4. ในระยะกลางควรสร้างกลไกเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลที่เก็บแยกเข้ากับระบบฐานข้อมูลกลางของโรงพยาบาล
5. ในระยะยาวควรสร้างคลังข้อมูลที่นำข้อมูลที่เก็บแยกแฟ้มไว้เข้ามาใช้ในการบริการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนาํ มาพฒั นาสถานพยาบาลตอ่ ไป




http://thcc.or.th/download/audit59/Audit_1.pdf


วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กองทุนเงินทดแทน คืออะไร




ในชีวิตคนเราที่ต้องทำงานในแต่ละวันนั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันในขณะที่ทำงานได้เสมอ และจุดนี้เองที่รัฐบาลได้เล็งเห็น จึงนำไปสู่การจัดตั้ง "กองทุนเงินทดแทน" (workmen's compensation fund) เพื่อเป็นทุนให้มีการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย อันเนื่องจากการทำงาน สำหรับลูกจ้าง หรือคนทำงาน

กองทุนเงินทดแทน คืออะไร (workmen's compensation fund)
          กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 เพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตาย หรือสูญเสียเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง

ใครเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ และผู้ได้รับประโยชน์
          นายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว เพียงปีละ 1 ครั้ง มีลักษณะเหมือนเบี้ยประกัน และเมื่อลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างเล้วเกิดประสบอันตราย ลูกจ้างก็จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วยค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ

เงินสมทบ คืออะไร
          เงินสมทบ คือเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะทำการเรียกเก็บจากนายจ้างเป็นรายปี โดยแจ้งจำนวนเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ทราบตามใบแจ้งเงินสมทบ เงินสมทบนี้จะคิดจากค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการนั้นซึ่งนายจ้างแต่ละประเภทจะจ่ายในอัตราเงินสมทบหลักที่ไม่เท่ากัน ระหว่างอัตรา 0.2 เปอร์เซ็นต์ - 1.0 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัยตามลักษณะงานของกิจการของนายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบตามอัตราหลัก 4 ปี ติดต่อกันและในปีที่ 5 เป็นต้นไป จะมีการคำนวฯอัตราส่วนการสูญเสียเพิ่มลด -เพิ่ม อัตราเงินสมทบให้นายจ้าง

ขอบข่ายความคุ้มครอง
          ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 บังคับใช้กับสถานประกอบการธุรกิจเอกชนทุกประเภท ที่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ทั่วราชอาณาจักร ยกเว้น
             1. ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
             2. รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
             3. นายจ้าง ซึ่งประกอบธุรกิจโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะในส่วนที่เกี่ยว กับครู หรือครูใหญ่
             4. นายจ้างซึ่งดำเนินกิจการ ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ
             5. นายจ้างอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

นายจ้างในกิจการใดบ้าง มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ
          นายจ้างในทุกประเภทกิจการและทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน และนายจ้างผู้ใดมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบกองทุนแล้วยังคงมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบต่อไป แม้ว่าภายหลังจะมีลูกจ้างไม่ถึง 10 คนก็ตาม

กำหนดเวลายื่นแบบขึ้นทะเบียน
          นายจ้างจะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 10 คน
สถานที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียน
          กำหนดให้นายจ้างยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ ณ ท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นได้ที่ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ 1 (ดินแดง) เขตพื้นที่ 2 (เขตบางขุนเทียน) เขตพื้นที่ 3 (รามอินทรา) เขตพื้นที่ 4 (คลองเตย) เขตพื้นที่ 5 (ประชาชื่น) เขตพื้นที่ 6 (ธนบุรี) และเขตพื้นที่ 7 (พระนคร) ในเขตต่างจังหวัด ยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด

เอกสารอะไรบ้างที่ต้องนำมาในวันยื่นแบบ
          เอกสารที่นายจ้างจะต้องนำมาในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน ได้แก่
               - แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (แบบ สปส.1-01) ใช้ชุดเดียวกับการขึ้นทะเบียนกองทุนประกันสังคม
               - สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
               - สำเนาใบทะเบียนภาษีมุลค่าเพิ่ม (แบบ ภพ.20) หรือสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (แบบ รง.4)
               - แผนผังแสดงที่ตั้งของสำนักงาน หรือโรงงานของนายจ้าง
เมื่อนายจ้างยื่นแบบขึ้นทะเบียนแล้ว จะได้รับอะไรเป็นหลักฐาน
               - เลขที่บัญชี ซึ่งจะเป็นเลขเดียวกับกองทุนประกันสังคม เพื่อใช้อ้างอิงในการติดต่อ
               - ใบแจ้งเงินสมทบ เพื่อแจ้งให้นายจ้างทราบถึงจำนวนเงินสมทบที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุน พร้อมทั้งกำหนดวันที่ซึ่งนายจ้างจะต้องนำเงินมาจ่าย

 นายจ้างจะต้องจ่าย เงินสมทบประจำปีเมื่อใด
          กองทุนเงินทดแทนจะเรียกเก็บเงินสมทบจากนายจ้างเป็นรายปี (ปีละ 1 ครั้ง) โดยในปีแรก นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 10 คน สำหรับปีต่อ ๆ ไป จ่ายภายในเดือน มกราคมของทุกปี เงินสมทบที่เรียกเก็บเมื่อต้นปีนั้น คิดมาจากจำนวนเงินค่าจ้างที่ได้ประมาณการไว้ล่วงหน้าซึ่งอาจไม่เท่ากับค่าจ้างจริงที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากในระหว่างปี นายจ้างอาจมีการเพิ่มหรือลดจำนวนลูกจ้างปรับอัตราค่าจ้างเป็นต้น ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปีจึงให้นายจ้างแจ้งจำนวนค่าจ้างรวมทั้งปี มายังสำนักงานอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้นำไปเปรียบเทียบกับเงินสมทบที่เก็บไว้เมื่อต้นปี หากเงินสมทบที่เก็บไว้เดิมน้อยกว่าก็จะเรียกเก็บเพิ่ม ภายใน 31 มีนาคม หากจำนวนเงินค่าจ้างรวมทั้งปีต่ำกว่าเดิมนายจ้างจะได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินไว้คืนไป

 วิธีการจ่ายเงินสมทบ
          นายจ้างจะชำระเงินสมทบด้วยเงินสด เช็ค ดร๊าฟ หรือ ธนาณัติ หรือชำระผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด ทุกสาขา
เมื่อใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง

          สิทธิจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อนายจ้างมีลูกจ้างครบ 10 คน ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่จะต้องขึ้นทะเบียน ภายใน 30 วัน ตามกฎหมายกำหนด

 ทำอย่างไรเมื่อลูกจ้างเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน
             1. นายจ้างต้องให้การรักษาพยาบาลแก่ลูกจ้างโดยทันที
             2. แจ้งให้เจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทนทราบภายใน 15 วัน นับจากวันที่นายจ้างทราบการเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย หรือสูญหาย ตามแบบ กท.16
             3. ลูกจ้างสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลใดก็ได้ โดยทดลองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วนำใบเสร็จรับเงิน  ไปเบิกคืนภายใน 90 วัน หรือ
             4. ใช้แบบ กท.44  ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล หากสถานพยาบาลนั้นอยู่ในความตกลงกับกองทุนเงินทดแทน ทางสถานพยาบาลจะเรียกเก็บ ค่ารักษาพยาบาล จากกองทุนเงินทดแทนเอง

 กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว จะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
          ได้รับค่ารักษาพยาบาล และค่าทดแทนจำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือน หากต้องหยุดพักรักษาตัวติดต่อกันเกิน 3 วัน ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 ปี
 กรณีสูญเสียอวัยวะจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง

          ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนจำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือนในการหยุดพักรักษาตัว และค่าทดแทน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือน ในการสูญเสียอวัยวะ ไม่เกิน 10 ปี กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู จะได้รับค่าฟื้นฟูค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูด้านการแพทย์ และอาชีพเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 20,000 บาท

 กรณีทุพพลภาพจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
          ได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าทดแทน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี

 กรณีถึงแก่ความตาย หรือสูญหายจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง

          ได้รับค่าทำศพเป็นเงิน 100 เท่า ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันและค่าทดแทน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลา 8 ปี

 ค่าทดแทนจะได้รับเมื่อไรและอย่างไร

          ค่าทดแทน กรณีหยุดงาน สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย จะได้รับในอัตราที่ต้องไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท และไม่เกิน 9,000 บาท ต่อเดือน

 จะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้อย่างไร

          ให้นำใบเสร็จรับเงินมาเบิกคืนได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่จ่ายแต่ถ้าทำการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับกองทุน สถานพยาบาลนั้นจะเรียกเก็บเงินจากกองทุนโดยตรง

 เมื่อมารับเงินใช้หลักฐานอะไรบ้าง

          บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ซึ่งมีรูปถ่ายด้วย หากไม่ได้มารับด้วยตนเองจะต้องมีใบมอบฉันทะพร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบมาแสดงด้วย

 นายจ้างที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 10 คน ต้องปฏิบัติตนอย่างไร

          ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ แต่เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทน เพื่อออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างตามสิทธิ เช่นเดียวกับที่กองทุนเงินทดแทนจ่าย

ค่ารักษาพยาบาล


  • กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทน เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 45,000 บาท
  • กรณีที่ค่ารักษาพยาบาลเกิน 45,000 บาท ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
  • บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
  • บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
  • บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ
  • บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือรากประสาท
  • ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรม
  • ประสบอันตรายจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก สารเคมี หรือไฟฟ้า จนถึงขั้นสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนังแท้เกินกว่าร้อยละ 30 ของร่างกาย
  • ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงและเรื้อรังตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  • กรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายเพิ่มอีก 65,000 บาท ไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ รวมค่ารักษาพยาบาลทั้ง 2 กรณีแล้ว ต้องไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
  • ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 1 ถึง 6 ตั้งแต่สองรายการขึ้นไป
  • ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 1 ถึง 6 ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ตั้งแต่ยี่สิบวันขึ้นไป
  • บาดเจ็บอย่างรุนแรงของระบบสมองหรือไขสันหลังที่จำเป็นต้องรักษาตั้งแต่ 30 วันติดต่อกัน
  • การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งรุนแรงและเรื้อรังจนเป็นผลให้อวัยวะสำคัญล้มเหลว
  • กรณีค่ารักษาพยาบาลทุกกรณีไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังกล่าวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 300,000 บาท โดยให้คณะกรรมการการแพทย์พิจารณาและคณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
  • ในกรณีลูกจ้างเป็นผู้ป่วยใน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายตามจริงไม่เกินวันละ 1,300 บาท

ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 13 พ.ค. 51เป็นต้นไป

หมายเหตุ

  • ลูกจ้างเข้ารักษาในสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน ไม่ต้องจ่ายค่ารักษา
  • ถ้าเข้ารักษาในสถานพยาบาลอื่น ให้ทดรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน แล้วเบิกคืนจากกองทุนเงินทดแทนภายใน 90 วัน
  • นายจ้างมีหน้าที่ส่งแบบแจ้งการประสบอันตราย (กท.16) พร้อมแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล (กท. 44) ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่นายจ้างทราบ

รอบรู้เรื่อง "สิทธิผู้ิพิการ"

อย่างไรจึงเรียกว่า "คนพิการ"

“คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกำหนด 



ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ

        ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๗๗ ง กำหนดประเภทความพิการไว้ ๖ ประเภท ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
        ๑. ความพิการทางการเห็น ได้แก่ 
           ๑) ตาบอด หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการเห็น เมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับแย่กว่า ๓ ส่วน ๖๐ เมตร(๓/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๔๐๐ ฟุต (๒๐/๔๐๐) ลงมาจนกระทั่งมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีลานสายตาแคบกว่า ๑๐ องศา
           ๒) ตาเห็นเลือนราง หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการเห็นเมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่า เมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับตั้งแต่ ๓ ส่วน ๖๐ เมตร (๓/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๔๐๐ ฟุต (๒๐/๔๐๐) ไปจนถึงแย่กว่า ๖ ส่วน ๑๘ เมตร (๖/๑๘)หรือ ๒๐ ส่วน ๗๐ ฟุต (๒๐/๗๐) หรือมีลานสายตาแคบกว่า ๓๐ องศา

        ๒. ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ได้แก่
           ๑) หูหนวก หมายถึง การที่บุคคล การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการได้ยินจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยิน เมื่อตรวจการได้ยิน โดยใช้คลื่น ความถี่ที่ ๕๐๐ เฮิรตซ์ ๑,๐๐๐ เฮิรตซ์ และ ๒,๐๐๐ เฮิรตซ์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียง ๙๐ เดซิเบลขึ้นไป
           ๒) หูตึง หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการได้ยิน เมื่อตรวจวัดการได้ยิน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ ๕๐๐ เฮิรตซ์ ๑,๐๐๐ เฮิรตซ์ และ ๒,๐๐๐ เฮิรตซ์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงน้อยกว่า ๙๐ เดซิเบลลงมาจนถึง ๔๐ เดซิเบล
           ๓) ความพิการทางการสื่อความหมาย หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องทางการสื่อความหมาย เช่น พูดไม่ได้ พูดหรือฟังแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ เป็นต้น

        ๓. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ได้แก่
           ๑) ความพิการทางการเคลื่อนไหว หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือการสูญเสียความสามารถของอวัยวะในการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือ เท้า แขน ขา อาจมาจากสาเหตุอัมพาต แขน ขา อ่อนแรง แขน ขาขาด หรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจนมีผลกระทบต่อการทำงานมือ เท้า แขน ขา
           ๒) ความพิการทางร่างกาย หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และภาพลักษณ์ภายนอกของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน

        ๔. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก ได้แก่
           ๑) ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด
           ๒) ความพิการทางออทิสติก หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมอง และความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ ๒ ปีครึ่ง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มออทิสติกสเปกตรัมอื่น ๆ 

        ๕. ความพิการทางสติปัญญา ได้แก่ การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ ๑๘ ปี

        ๖. ความพิการทางการเรียนรู้ ได้แก่ การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมโดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องในด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ หรือกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานอื่นในระดับความสามารถที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา 





ดาวน์โหลดคู่มือ สิทธิประโยชน์ผู้พิการ



ดาวน์โหลด คู่มือสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช)


ดาวน์โหลด สิทธิประโยชน์ผู้พิการตามกฏหมายที่สำคัญ


*สิทธิคนพิการที่ควรรู้ 

*สวัสดิการเบี้ยความพิการ
    คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ และได้ลงทะเบียนขอรับเบี้ยความพิการไว้แล้ว มีสิทธิได้รับเบี้ยความพิการ รายเดือน ๆ ละ ๕๐๐  บาท  ตลอดชีพ

*บริการให้กูยืมเงินทุนประกอบอาชีพ
    คนพิการอายุ  ๒๐ – ๖๐  ปี และผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย สามารถกู้ยืมเงินทุนไปประกอบอาชีพ  รายละไม่เกิน  ๔๐,๐๐๐  บาท  ผ่อนชำระภายใน  ๕  ปี  ไม่คิดดอกเบี้ย  และมีข้าราชการ  ลูกจ้างประจำ  หรือบุคคลที่รายได้ประจำ  ที่มีเงินเดือน  ตั้งแต่  ๕,๐๐๐  บาทขึ้นไป  เป็นผู้ค้ำประกัน  ๑  คน  (ภายหลังจากทำสัญญากู้  ผู้ค้ำประกันถือเป็นลูกหนี้ร่วมกับคนพิการ และต้องรับผิดเช่นเดียวกับคนพิการ กรณีคนพิการ/ผู้ดูแลคนพิการผิดนัดในการชำระหนี้)

*การช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนพิการ
    ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างให้แก่คนพิการที่มีฐานะยากจน และไม่ได้รับความเป็นธรรม

*การขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
   การปฏิบัติที่แตกต่างกัน การกีดกัน การหน่วงเหนี่ยว การลำเอียง จากเหตุแห่งความแตกต่างของเพศ อายุ ศาสนา ภาษา สภาพความพิการ ฯลฯ รวมถึงการกระทำหรืองดเว้นการกระทบต่อคนพิการ แม้จะไม่ตั้งใจ แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนพิการเสียประโยชน์ ก็ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ

*การจัดบริการล่ามภาษามือ
     จัดให้บริการล่ามภาษามือสำหรับคนพิการทางการได้ยิน หรือสื่อความหมาย (การใช้บริการทางการแพทย์ การสมัครงาน หรือติดต่อประสานงานประกอบอาชีพ การร้องทุกข์ การประชุม)

*การปรับสภาพที่อยู่อาศัย
     ให้บริการปรับสภาพที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการที่ยากจนเพื่อเพิ่มความสะดวกในการดำรงชีวิตและปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันในที่อยู่อาศัยของคนพิการเอง เช่น ปรับปรุงห้องน้ำ ราวจับ การปรับพื้นผิวทางเดิน ฯลฯ

*การสนับสนุนผู้ช่วยคนพิการ
    จัดให้บริการผู้ช่วยคนพิการให้กับคนพิการที่มีความจำเป็นต้องมีผู้ช่วยคนพิการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิตได้ (พิการรุนแรง ไม่มีผู้ดูแลและมีฐานะยากจน)

*การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก
    การจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการเข้าถึงได้ ได้แก่ ทางลาด ห้องน้ำ ที่จอดรถ ป้ายสัญลักษณ์ และบริการข้อมูล ฯลฯ
การลดหย่อนค่าโดยสารขนส่งสาธารณะ
     รถไฟฟ้า บีทีเอส (ลอยฟ้า) ฟรี ๗ สถานี , รถไฟฟ้าใต้ดิน ฟรีทุกสถานี , การบินไทยคนพิการลด ๕๐% ผู้ดูแลคนพิการลด ๒๕% , ขสมก.(พัดลม) ลดครึ่งราคาเฉพาะคนตาบอด , บขส. ลดครึ่งราคาเฉพาะคนตาบอด

*สิทธิคนพิการทางการแพทย์
     คนพิการที่มีบัตรทองผู้พิการ ท ๗๔ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องมีใบส่งตัว

*สิทธิคนพิการทางการศึกษา
     คนพิการมีสิทธิรับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนจนถึงปริญญาตรี

*สิทธิคนพิการทางอาชีพ
     คนพิการมีสิทธิเข้ารับบริการฝึกอบรมวิชาชีพแก่ในสาขาต่าง ๆ หลักสูตร  ๖  เดือน – ๑ ปี

*สิทธิประโยชน์ของผู้ดูแลคนพิการ
    ผู้ดูแลคนพิการ คือ บุคคลที่มีชื่อระบุอยู่ในบัตรประจำตัวคนพิการ / สมุดประจำตัวคนพิการ ว่าเป็นผู้ดูแลคนพิการ และต้องให้การอุปการะดูแลคนพิการนั้นจริง ๆ
ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิในเรื่องต่างๆ ได้แก่
- การบริการให้คำปรึกษา แนะนำ
- ฝึกอบรมทักษะการเลี้ยงดูคนพิการให้ได้มาตรฐาน
- การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- การส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ
- การทำงานในสถานประกอบการ
- การฝึกอาชีพ
- การสนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ
- การให้สัมปทานหรือสถานที่จำหน่ายสินค้า
- การจัดจ้างแบบเหมางานและอื่นๆ
- การได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- การให้ความช่วยเหลืออื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

*การจ้างงานคนพิการ
    นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ร้อยคนขึ้นไป ต้องรับคนพิการเข้าทำงานหนึ่งคน เศษของหนึ่งร้อยถ้าเกินห้าสิบคน ต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคน
(จ้าง – จัด – จ่าย)

*มาตรการภาษีเพื่อคนพิการ
    คนพิการมีเงินได้  และที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย  ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่เกิน  ๖๕  ปีบริบูรณ์  ได้รับลดหย่อนภาษีไม่เกิน  ๑๙๐,๐๐๐  บาท

*มาตรการภาษีเพื่อผู้ดูแลคนพิการ
    ผู้ดูแลคนพิการ  ที่มีชื่อระบุอยู่ในบัตรประจำตัวคนพิการ ได้รับลดหย่อนภาษีคนละ  ๖๐,๐๐๐  บาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่องานคนพิการ
๑. สำเนาทะเบียนบ้าน
๒. สำเนาบัตรประชาชน
๓. บัตรประจำตัวคนพิการ พร้อมสำเนา




การขึ้นทะเบียนผู้พิการทำอย่างไร



 ขั้นตอนแรก  
- ไปพบแพทย์เพื่อประเมินความพิการและออกใบรับรองความพิการ (ทั้งนี้ แพทย์ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทุกคนที่ปฎิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐสามารถออกให้ได้ แต่แพทย์ที่ไม่รู้จักกฏหมายนี้อาจปฏิเสธ และแนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จักษุแพทย์(หมอตา) แพทย์โสตนาสิก(หมอหู) จิตแพทย์ หรือกุมารแพทย์(หมอเด็ก) เป็นต้น             
 - กรณีที่มีความพิการที่เห็นได้ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและออกใบรับรองความพิการ กรณีนี้เรียกว่า ความพิการที่สามารถเห็นได้โดยประจักษ์ ได้แก่                                         

  • ไม่มีลูกตาทั้งสองข้าง ไม่มีลูกตาดำทั้งสองข้าง                            
  • ลูกตาสีขาวขุ่นทั้งสองข้าง ลูกตาฝ่อทั้งสองข้าง                          
  • หูหนวกเนื่องจากไม่มีรูหูทั้งสองข้าง                                        
  • แขนขาดตั้งแต่ระดับข้อมือขึ้นไป อย่างน้อยหนึ่งข้าง                     
  • ขาขาดตั้งแต่ระดับข้อเท้าขึ้นไป อย่างน้อยหนึ่งข้าง 


     ขั้นตอนต่อไป  - เตรียมเอกสารต่างๆดังนี้ ใบรับรองความพิการ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป                                                                    

  •  นำเอกสารทั้งหมดดังกล่าวไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด ณ สำนักงานทะเบียนกลาง สำนักงานทะเบียนจังหวัด หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ซึ่งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อจดทะเบียน และขอรับบัตรประจำตัวคนพิการ  ทั้งนี้ บัตรประจำตัวคนพิการมีอายุ ๖ ปี เมื่อหมดอายุแล้ว ต้องไปขอต่ออายุ และกรณีที่ต้องการขอสละสิทธิ์ ก็สามารถติดต่อขอสละสิทธิ์ดังกล่าวได้


http://tips-insurance4life.blogspot.com/2013/06/blog-post_12.html

ภาพของท่าน สวยงามและสื่อความหมายได้ชัดเจน เราขออนุญาตนำภาพของท่านมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมนะคะ หากขัดข้องประการใด รบกวนโทร 089-1326770