หน้าเว็บ

1.7.59

ความลับของคนไข้

โดยจริยธรรมของแพทย์ สิ่งที่แพทย์ตรวจพบจากตัวคนไข้ หรือสิ่งที่คนไข้บอกเล่าให้แพทย์ทราบ แพทย์ต้องรักษาเป็นความลับ โดยการไม่เปิดเผยต่อผู้อื่น รวมทั้งการเก็บรักษาข้อมูลของคนไข้ต่างๆ ที่บันทึกได้ในเวชระเบียน แพทย์และโรงพยาบาลต้องจัดระบบการเก็บรักษา เพื่อไม่ให้บุคคลอื่นๆ แม้แต่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล หรือญาติของคนไข้เข้าถึงข้อมูลได้ โดยมิได้รับอนุญาตจากคนไข้ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเรื่องสุขภาพและความลับต่างๆ ของคนไข้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลเท่านั้น

บันทึกเวชระเบียน
บันทึกเวชระเบียนคือบันทึกที่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์บันทึกประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติโรคปัจจุบัน โรคประจำตัว การเจ็บป่วยที่ผ่านมา การตรวจร่างกาย การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นบันทึกสำคัญทางการแพทย์ในการรักษาพยาบาลคนไข้ การดูแลต่อเนื่อง การวางแผนการรักษาและการพยากรณ์โรค รวมทั้งเป็นข้อมูลสำคัญทางกฎหมาย (กรณีคนไข้คดีหรือมีการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญา)

บันทึกเวชระเบียนมี 2 รูปแบบ ได้แก่ บันทึกเป็นเอกสารและบันทึกเป็นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลต่างๆ จะมีระบบการจัดเก็บ ป้องกันมิให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย

เมื่อญาติหรือบุคคลอื่น เช่น ผู้แทนบริษัทประกันมาขอข้อมูล เพื่อใช้ประกอบในการไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น หรือกรณีเรียกสินไหมทดแทน จะต้องได้รับอนุญาตจากคนไข้โดยมีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร แพทย์จึงจะคัดลอกข้อมูลส่วนที่เกี่ยวข้องให้ตามความเหมาะสม

การเปิดเผยข้อมูลโดยไม่เจตนา
มีเรื่องเล่าว่า สามีพาภรรยามาคลอดลูก ได้ลูกสุขภาพดีน่ารัก มีความสุขทั้งพ่อและแม่ เรื่องน่าจะจบด้วยดี ถ้าไม่บังเอิญเกิดเรื่องเสียก่อน กล่าวคือวันที่หมอให้กลับบ้าน พยาบาลให้สามีนำเวชระเบียนไปประกอบการคิดค่าใช้จ่ายที่ฝ่ายการเงิน ระหว่างนั่งรอ สามีอ่านเวชระเบียนพบว่าภรรยาเคยแท้งบุตรก่อนแต่งงานกับตน ชีวิตสามีภรรยาคู่นี้จบลงด้วยการแยกทางกัน

ปัจจุบันข้อมูลในส่วนที่อาจกระทบต่อชื่อเสียงของ คนไข้และญาติ เช่น เคยถูกข่มขืน เป็นโรคติดเชื้อเอดส์ โรงพยาบาลมักแยกบันทึกเวชระเบียนออกไปเก็บคนละส่วน หรือใช้รหัสแทนการระบุโรคหรือ ผลการตรวจ โรงพยาบาลหลายแห่งคนไข้และญาติ ไม่ต้องถือเวชระเบียนเองเมื่อต้องไปห้องตรวจ ห้องปฏิบัติการ ห้องยา หรือห้องการเงิน จะมีเจ้าหน้าที่นำส่งเวชระเบียนให้ บางแห่งที่ไม่สามารถจัดเจ้าหน้าที่บริการได้ครบทุกจุด มักจะนำเวชระเบียนใส่ซองมิดชิด เพื่อมีให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นข้อมูลในบันทึกเวชระเบียน

ความลับที่คนไข้ไม่ให้บอกญาติ
บางครั้งแพทย์ต้องหนักใจ เพราะคนไข้อยากปิดอาการเจ็บป่วยของตนแก่ญาติ (พ่อ แม่ หรือลูก) เช่น คนไข้โรคมะเร็ง คนไข้เป็นโรคระยะสุดท้ายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้ คนไข้ตั้งครรภ์ทารกพิการ
ในสถานการณ์เช่นนี้ แพทย์ตกที่นั่งลำบาก เพราะถ้าพูดไม่ดีก็ขัดใจคนไข้ ถ้าไม่บอกญาติไว้ก่อน เมื่อคนไข้อาการทรุดลงหรือเสียชีวิต ญาติอาจเข้าใจว่าแพทย์วินิจฉัยโรคไม่ได้แต่แรก หรือให้การรักษาพยาบาลไม่ถูกต้อง

ความลับที่ญาติไม่ให้บอกคนไข้
คนไข้หลายคนที่เป็นโรคที่เกินความสามารถให้ การรักษาให้หาย เช่น หัวใจวาย ไตวาย ตับวาย มะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น ญาติอาจไม่อยากให้บอกคนไข้ เพราะเกรงว่าคนไข้จะเสียกำลังใจและอาการทรุดลง

เป็นอีกเรื่องความลับที่แพทย์ลำบากใจ เพราะคนไข้มีสิทธิที่จะทราบภาวะการเจ็บป่วยของตนเอง

การเปิดเผยความลับเป็นความผิดทางกฎหมาย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นโดยเหตุเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยเหตุที่ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้รับการศึกษาอบรมในวิชาชีพดังกล่าว ในวรรคแรกเปิดเผยความลับของผู้อื่น อันตนได้ล่วงรู้หรือได้มาในการศึกษาอบรมนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ในวรรคสองรวมถึงนักศึกษาแพทย์ที่อยู่ในระหว่างการศึกษา

ความลับในที่นี้หมายถึงอาการป่วยไข้ของคนไข้ซึ่งแพทย์จะไปบอกผู้อื่นไม่ได้

กรณียกเว้น
กรณียกเว้นที่ต้องเปิดเผยข้อมูลซึ่งอาจเป็นความลับของคนไข้ ได้แก่ การรายงานโรคติดต่ออันตราย การรายงานบาดแผลของคนไข้ที่อาจเกิดจากการก่อคดีอาชญากรรม การรายงานการทำร้ายร่างกายในครอบครัว ซึ่งผลการรายงาน ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้ดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งการให้ข้อมูลตามคำสั่งศาล

หากคนไข้ปิดบังข้อมูลบางส่วน หรือไม่ยอมให้แพทย์ตรวจร่างกายโดยละเอียดตามความเหมาะสม หรือไม่ยอมให้ตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการตามความจำเป็น เพราะเกรงความลับของตนเองจะถูกเปิดเผย อาจมีผลต่อการวินิจฉัยและการบำบัดรักษา

ดังนั้นแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ จึงพึงยึดหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด โรงพยาบาลควรจัดระบบในการรักษาความลับและควบคุมกำกับให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพการรักษาพยาบาล และสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในวงการแพทย์

โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มิถุนายน 2552 00:00
https://www.doctor.or.th/article/detail/7523

การดูแลผู้ป่วยให้ "ตายดี" (11) ภาคผนวก : พินัยกรรมชีวิต (Living Wills) หรือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธราณสุข (Advance Medical Directives)

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2550) มีบัญญัติในมาตรา 12 ดังนี้

"มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากรับผิดทั้งปวง"

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จึงได้มอบหมายให้มีการจัดทำกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น โดยมีศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์และคณะ ร่วมกับศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดทำ (ร่าง) กฎกระทรวงตามความในมาตราที่ 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และจัดประชุมขอความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องจากหลายอาชีพและหลายสถานะ โดยมี (ร่าง)กฎกระทรวงตามความในมาตราที่ 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ฉบับล่าสุดที่แก้ไขปรับปรุงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ดังนี้

                                                                  (ร่าง)
                                                               กฎกระทรวง
                   กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนา
   ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต
                                        หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. ...
                                                   ....................................................

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้

"หนังสือแสดงเจตนา" หมายความว่า หนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าของบุคคลผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาที่ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย โดยให้มีผลเมื่อผู้ทำหนังสืออยู่ในภาวะที่ไม่อาจจะแสดงเจตนาด้วยตนเองได้ โดยวิธีสื่อสารตามปกติ

"บริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย" หมายความว่า วิธีการทางการแพทย์หรือวิธีการอื่นใด ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตัดสินใจนำมาใช้กับผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา เพื่อวัตถุประสงค์จะยืดกระบวนการตายออกไปโดยไม่ทำให้ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาพ้นไปจากความตาย หรือพ้นจากการทรมานโดยสิ้นเชิงได้โดยรวมถึงการช่วยการหายใจ การให้ยาช่วยความดันโลหิตหรือชีพจร การถ่ายเลือด การล้างไต และวิธีการอื่นที่เพิ่มความเจ็บปวด/ทรมานแก่ผู้ป่วย แต่ไม่รวมถึงการให้ยาหรือวิธีการใดที่จะระงับความเจ็บปวดเฉพาะคราว

"วาระสุดท้ายของชีวิต" หมายความว่า ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บโรค ที่ไม่อาจจะรักษาให้หายได้และจากการพยากรณ์โรคตามมาตรฐานทั่วไปในทางวิชาชีพเห็นว่า ภาวะนั้นจะนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระยะเวลาที่ไม่นาน และให้รวมถึงภาวะที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาพผักถาวรด้วย

"สภาพผักถาวร" หมายความว่า ภาวะของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยตามมาตรฐานทางวิชาการแพทย์ว่า มีการสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของเปลือกสมองใหญ่ ที่ทำให้ขาดความสามารถในการรับรู้และสื่อสารได้อย่างรู้เรื่อง โดยอาจมีเพียงปฏิกิริยาสนองตอบอัตโนมัติเท่านั้น

"การทรมานจากการเจ็บป่วย" หมายความว่า ความทุกข์ทรมานทางกาย ทางจิตใจของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา อันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่อาจรักษาให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานน้อยลงพอที่จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น หรือหายจากการบาดเจ็บหรือโรคนั้นได้ เช่น การเป็นอัมพาตสิ้นเชิงตั้งแต่คอลงไป โรคสมองเสื่อม โรคที่มีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและข้อที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นต้น




ข้อ 2 หลักเกณฑ์วิธีการทำหนังสือแสดงเจตนามีดังต่อไปนี้
2.1 เพื่อให้หนังสือแสดงเจตนา มีความชัดเจนที่จะดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ทำหนังสือดังกล่าว หนังสือแสดงเจตนาควรมีข้อมูลให้สามารถสื่อความหมายได้ ดังนี้

ก. รายการที่แสดงข้อมูลของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา (เช่น ชื่อ สกุล อายุ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้)

ข. วัน เดือน ปี ที่ทำหนังสือแสดงเจตนา

ค. ชื่อพยานและคุณสมบัติของพยานที่รับรองสติสัมปชัญญะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา (ถ้ามีใบรับรองแพทย์ก็ให้แนบไว้กับหนังสือแสดงเจตนาด้วย)

ง. ระบุประเภทของบริการสาธารณสุขที่ไม่ต้องการจะได้รับ และกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพให้บริการไป  ก่อนหน้าแล้ว ก็ให้ระบุข้อความว่า ให้ระงับการให้บริการนั้นได้

จ. กรณีที่ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา มิได้เขียนหนังสือแสดงเจตนาด้วยตนเอง ให้ระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้พิมพ์หนังสือแสดงเจตนาด้วย

ฉ. ลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา ลายมือชื่อของพยาน และผู้เขียนหรือผู้พิมพ์

2.2 หนังสือแสดงเจตนาอาจระบุชื่อบุคคลใกล้ชิด ที่ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาให้ความไว้วางใจ ซึ่งต้องเป็นผู้มีความสามารถสมบูรณ์ตามกฎหมายไว้ด้วยก็ได้ เพื่อทำหน้าที่ตัดสินใจตามความประสงค์ที่แท้จริงของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา รวมทั้งกรณีที่หนังสือแสดงเจตนาระบุให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ตัดสินใจปฏิเสธการรักษาใดๆ แทนตนก็ได้ บุคคลผู้ถูกระบุชื่อดังกล่าวต้องแสดงการยอมรับโดยต้องลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือแสดงเจตนาไว้ด้วย

2.3 ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอาจเปลี่ยนแปลงหนังสือแสดงเจตนาได้ตลอดเวลาในกรณีมีหนังสือแสดงเจตนาหลายฉบับให้ถือฉบับที่ทำครั้งสุดท้ายเป็นฉบับที่มีผลบังคับ

2.4 หนังสือแสดงเจตนาอาจระบุรายละเอียดอื่นๆ เช่น ความประสงค์ในการเสียชีวิตที่บ้าน ความปรารถนาของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาที่จะได้รับการเยียวยาทางจิตใจ ซึ่งหมายรวมถึงการสวดมนต์ การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรมของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา ทั้งนี้สถานพยาบาลควรให้ความร่วมมือตามความเหมาะสม




ข้อ 3 หลักเกณฑ์ วิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนา มีดังต่อไปนี้
3.1 ผู้เก็บรักษาหนังสือแสดงเจตนาของผู้ใดไว้ เมื่อผู้แสดงเจตนาเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาลใดให้แสดงหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยหรือข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขของสถานพยาบาลนั้นโดยไม่ชักช้า และให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขนำหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยเก็บเข้าในแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วย พร้อมทั้งให้รายงานให้ผู้บริหารสถานพยาบาลนั้นได้ทราบ
กรณีที่ผู้ป่วยยังไม่ถึงวาระสุดท้ายของชีวิตและมิได้ปฏิบัติตามหนังสือเจตนาเมื่อผู้ป่วยออกจากสถานพยาบาลให้ส่งคืนหนังสือแสดงเจตนานั้นแก่ผู้ป่วย

3.2 ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีสติสัมปชัญญะดีพอที่จะสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามปกติให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษาผู้ป่วย ทำความเข้าใจโดยอธิบายภาวะและความเป็นไปของโรคของผู้ป่วยให้ผู้ป่วยทราบ พร้อมทั้งขอคำยืนยันการปฏิเสธบริการสาธารณสุขตามหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าว รวมทั้งอธิบายถึงวิธีปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนานั้นให้ผู้ป่วยเข้าใจให้ชัดแจ้ง
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อยู่ในภาวะที่จะรับรู้ สื่อสารกับผู้อื่นได้ตามปกติ ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผิดชอบการรักษาผู้ป่วยดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนา

3.3 ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีสติสัมปชัญญะดีพอที่จะสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามปกติ และผู้ป่วยมีความประสงค์จะทำหนังสือแสดงเจตนาที่สถานพยาบาลก็ให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องให้ความสะดวกตามสมควร ดังนี้
ก. อำนวยความสะดวกในการจัดทำหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วย โดยอาจจัดเตรียมแบบฟอร์มหนังสือแสดงเจตนาที่สถานพยาบาลจัดทำขึ้น
ข. ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยในการทำหนังสือแสดงเจตนาตามข้อ 2

3.4 กรณีที่มีปัญหาการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนา หรือการตีความหนังสือแสดงเจตนาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษาผู้ป่วย ควรปรึกษาหารือกับบุคคลใกล้ชิดตามข้อ 2.2 หรือญาติผู้ป่วย เพื่อกำหนดแนวทางการดูแลรักษาต่อไป โดยควรทำการรักษาเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย และคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

3.5 ในกรณีที่ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ให้หนังสือแสดงเจตนามีผลก็ต่อเมื่อผู้นั้นพ้นจากสภาพการตั้งครรภ์

ข้อ 4 สถานพยาบาลอาจกำหนดแนวปฏิบัติหรือระเบียบภายใน เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกตามกฎกระทรวงนี้

ข้อ 5 กฎกระทรวงฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
...............................................................................................................................................................................
...............................................................................................................................................................................

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศกฎกระทรวงฉบับนี้ เพื่อให้หนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาตามมาตรา 12 แห่งกระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีผลในทางปฏิบัติได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้



สันต์ หัตถีรัตน์ พ.บ.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
มหาวิทยาลัยมหิดล

โพสโดย somsak เมื่อ 1 พฤษภาคม 2552 00:00
https://www.doctor.or.th/clinic/detail/9378

สิทธิในการตายดี ตายอย่างมีศักดิ์ศรี Living Will

จากมาตรา12  ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 ที่บัญญัติไว้ว่า

" บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินตามหนังสือแสดงเจตนา ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดในกฎกระทรวง

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่ง แล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความผิดทั้งปวง "


เจตนารมณ์ของผู้ร่าง   " เพื่อความเข้าใจอันดี เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย "

เหตุ ที่มาของมาตรา12 นี้ มาจากหลักสิทธิของมนุษย์ในการตัดสินใจเลือกการรักษาด้านสุขภาพ หลักศาสนาที่เน้นการตายโดยธรรมชาติ หลักกฎหมาย(และฎีกา) ในต่างประเทศ บทประกาศคำแถลงของแพทยสมาคมโลกและปฏิญญาด้านสิทธิผู้ป่วยของ WHO แต่อย่างไรก็ตามในการให้สิทธิการเลือกการตายในแต่ละประเทศยังไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของสังคม หลักจริยธรรม ความเชื่อทั้งด้านวิชาการและจิตวิญญาณของแพทย์ และกฎหมายในแต่ละประเทศ ในประเทศไทย เมื่อมีบัญญัติเป็นกฎหมายตามมาตรา 12 นี้ จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน ปรับทัศนคติของผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงของทุกส่วน.


เราควรมีความเข้าใจเบื้องต้นกันเสียก่อนว่า  "หนังสือแสดงเจตนา " (Living Will)
1. ต้องเป็นการกระทำล่วงหน้า.
2. ต้องเป็นวาระสุดท้ายของชีวิตจริงๆ.
3. ต้องตีความทำให้ชัดเจนกับคำว่า  "เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย".
4. ไม่ใช่ Active Euthanasia หรือ Mercy  Killing คือ การุณฆาต ช่วยให้ผู้อื่นฆ่าตัวตาย หรือทำให้ตายในขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติ และไม่ถึงวาระสุดท้ายของชีวิตจริง อันผิดไปจาก " The Hippocratis Oath " และผิดไปจากหลักพุทธศาสนา.


มีคำที่ใช้กับปรัชญาของ ความตาย และ  การตาย อยู่มากมายโดยผู้รู้และผู้ศึกษาเกี่ยวกับการตายอยู่มากทั้งแพทย์ นักกฎหมาย พระ นักบวช ซึ่งเขียนไว้ในด้านศิลปะการตาย การตายอย่างสงบ การตายอย่างธรรมชาติ การเตรียมตัวตาย คงไม่พูดถึงในที่นี้ เนื่องจากไม่ใช่วัตถุประสงค์ แต่  อดที่จะเอ่ยถึงบทความ ของอาจารย์สันต์ หัตถีรัตน์ ไม่ได้ ซึ่งได้อ่านต้นฉบับของหนังสือที่กำลังจะตีพิมพ์บางส่วน เชื่อว่าท่านมีความรู้ลึก รู้จริง ขอให้ผู้สนใจติดตามในหนังสือของท่านได้ต่อไป.


แพทยสภาเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการทำความเข้าใจในการทำความชัดเจนของข้อกฎหมายเพื่อให้  ผู้ประกอบวิชาชีพได้มีความเข้าใจตรงกันทั้งประเทศ เพราะในร่างกฎกระทรวงที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติร่างไว้ ได้กำหนดกฎเกณฑ์ให้แพทย์ต้องรับหน้าที่ อันเนื่องจากสิทธิของผู้ป่วยไว้หลายกรณี จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการจัดสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวกับร่างกฎกระทรวง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552.


ผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 150 ประกอบด้วย แพทย์ผู้ปฏิบัติ, ศาล, อัยการ,ตัวแทนคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, ทนายความ, ตำรวจ ทุกท่านให้ความสนใจมาก เตรียมตัวมาอย่างดี มีการเปิดประเด็นอย่างกว้างขวาง และค่อนข้างเร้าใจทีเดียว มีความเห็นจากการปฏิบัติจริงและเสนอแนวทางไว้ด้วย ดังนี้ครับ

1. ผู้พิพากษาให้ความเห็นว่า ร่างกฎกระทรวงนี้เกินกรอบที่กำหนดตามมาตรา 12 ที่ให้กำหนด      หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาฯ เท่านั้น ไม่ได้ให้กำหนดวิธีการทำหนังสือแสดงเจตนาตามในร่างกฎกระทรวงข้อ 2 โดยเฉพาะข้อ 2.2 กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ผู้อื่นแสดงเจตนาแทนได้

2. อัยการให้ความเห็นว่า หลายประเด็นใน ร่างกฎกระทรวงนี้ เกินกรอบที่กำหนดตามมาตรา 12 โดยเฉพาะการระบุประเภทของบริการที่จะไม่รับตาม  ข้อ 2.1 ง และกฎหมายนี้ควรปรับให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย

3. ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ความเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับการมีกฎหมายกำหนดให้แพทย์ต้องเป็นผู้ตัดสินใจปฏิบัติเช่นนี้ ข้อวินิจฉัยกรณีที่มีปัญหาควรเป็นอำนาจของศาล มีความเห็นว่าแพทย์ควรปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้

4. ความเห็นของแพทย์ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ทั่วไป อายุรแพทย์ ประสาทศัลยแพทย์ ประสาทแพทย์ จิตแพทย์ วิสัญญีแพทย์ แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง สูตินรีแพทย์ กุมารแพทย์ อาจารย์อาวุโสและกรรมการแพทยสภา มีความเห็นสรุปได้ดังนี้

4.1 ในทางปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิตนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่เกิดการรักษาเกินความจำเป็นในผู้ป่วยเหล่านี้เกิดจาก ความเข้าใจของแพทย์และคนทั่วไปเห็นว่าการรักษาดังกล่าว เป็นการรักษาอย่างถึงที่สุด ทางแก้ไขปัญหานี้จึงควรมีแนวทางปฏิบัติสำหรับแพทย์เป็นกรอบ  ปฏิบัติ ซึ่งเป็นมาตรฐานของแพทย์ในแต่ละสาขามีกำหนดอยู่แล้ว เมื่อได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว หากมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น การมีกรอบเช่นนี้และแพทย์ได้ปฏิบัติตามกรอบนี้แล้วจะเป็นเกราะป้องกันทางกฎหมายได้ แพทย์ผู้ปฏิบัติงานจึงสามารถที่จะไม่ให้การรักษาเกินความจำเป็นต่างๆ ได้เห็นควรเสนอให้แพทยสภากำหนดกรอบดังกล่าวไว้ในข้อบังคับ แพทยสภาว่าด้วยจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เรื่องการปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต การมีมาตรา 12 ไม่ได้แก้ปัญหาดังกล่าว กลับสร้างภาระให้กับแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกข้อหาละเมิดตามกฎหมายได้ แม้ไม่มีบทกำหนดโทษไว้ก็ตาม เสนอให้แก้ไขพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ เมื่อครบการประกาศใช้ 5 ปี ให้ยกเลิกมาตรา 12 นี้.

4.2 กฎกระทรวงนี้ไม่เป็นเรื่องเร่งด่วน และบุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาแล้ว การปฏิบัติของแพทย์ให้ดำเนินไปตามมาตรฐานวิชาชีพกำหนด การมีหนังสือดังกล่าวช่วยให้แพทย์ดำเนินการตามมาตรฐานวิชาชีพได้โดยไม่ต้องพะวงปัญหาทางกฎหมาย ควรชะลอการออกกฎกระทรวงดังกล่าวพิจารณาแก้ไขในประเด็นที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ.

4.3 รายละเอียดในกฎกระทรวงที่สมควรแก้ไข ได้แก่

(1) ข้อ 2.1 ง กำหนดให้ระบุประเภทของบริการสาธารณสุขที่ไม่ต้องการจะได้รับ มีความเห็นว่าให้ตัดออก เนื่องจากในมาตรฐานวิชาชีพแพทย์ มีกำหนดอยู่แล้วว่า การทำหัตถการใดควรทำหรือไม่อย่างไร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ จึงควรให้เป็นดุลยพินิจของแพทย์.

(2) ข้อ 3.5 กำหนดว่าผู้อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ให้หนังสือมีผลเมื่อผู้นั้นพ้นจากสภาพตั้งครรภ์ สูตินรีแพทย์มีความเห็นว่าให้ตัดออก เนื่องจากมีแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายที่ไม่เหมือนกัน ตามอายุครรภ์และพยาธิสภาพ จึงควรเป็นดุลยพินิจของแพทย์.


ในที่ประชุมแทบจะไม่มีใครไม่เห็นด้วยกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทุกคนเห็นด้วย เพียงแต่แนวทางปฏิบัติเท่านั้นที่จะเป็นปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การได้มาซึ่ง "หนังสือแสดงเจตนา" เนื่อง จากมีประเด็นของสังคม ประเด็นกฎหมาย ประเด็นความจริงแท้ของหนังสือนี้ ใครควรเป็นผู้รับรองหนังสือ ในที่ประชุมต้องการให้มีผู้รับรองหนังสือแสดงเจตนาโดยไม่ต้องเป็นแพทย์ เช่น ศาล, ทนายความ, หน่วยงานของสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ หรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นในการนี้ เพื่อให้แพทย์ได้มีเวลาพอที่จะดูแลผู้ป่วยอื่นที่เป็นภารกิจหลักซึ่งก็หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว เมื่อแพทย์ได้เห็นหนังสือที่มีผู้รับรองเชื่อว่าไม่ปฏิเสธความต้องการของผู้ป่วยนั้น แต่อย่างไรก็ตามคงต้องอยู่ที่ดุลพินิจของแพทย์ผู้นั้นด้วย.


ท้ายที่สุด โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับปรัชญาการเลือกการตายของผู้ป่วยอย่างมีศักดิ์ศรีโดยสงบ ให้ผู้ป่วยตายตามธรรมชาติให้มากที่สุด เนื่องจากตนเองได้ศึกษาตามหลักธรรมของพุทธศาสนาอยู่บ้าง โดยพิจารณามรรค 8 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดสมาธิ และปัญญา และพิจารณาไตรลักษณ์  "ทุกขัง       อนิจจัง อนัตตา " โดยเฉพาะอนัตตา อันเป็นส่วนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ด้วยตนเอง หมายถึงไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา สรรพสิ่ง บังคับไม่ได้ (หลวงพ่อธีร์) และยังพิจารณา เวทนา (สัตยา นารา โกเอ็นก้า) ความคิด (จิต) ตาม  "สติปัฏฐาน 4Ž เพื่อละวางกิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเท่ากับเตรียมตัว " ตายเสียก่อนตาย " (ท่านพุทธทาส) อยู่บ้างแล้ว.


สำหรับผู้ที่อยู่ในวาระสุดท้ายส่วนใหญ่ไม่เคยปฏิบัติธรรม ไม่ได้ฝึกฝนตนเองมาก่อน นอกจากจะ มีปัญหา ด้านกาย (รูป) และยังมีปัญหาด้าน จิตใจ ซึ่งน่าจะเป็นปัญหาใหญ่กว่าทางกายเสียอีก ด้วยเหตุนี้การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ต้องถูกขบคิด และต้องให้เข้าถึงจิตวิญญาณของผู้ป่วยด้วยจึงจะยังประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างจริงแท้ ร่างกฎกระทรวงต้องคำนึง ถึงบริบทที่สำคัญได้แก่ จริยธรรมแพทย์ วิชาการ สิทธิ ของความเป็นมนุษย์ ภาระงานของแพทย์ กฎหมาย ความเชื่อด้านปรัชญาทั้งของผู้ป่วยและแพทย์.

**อย่างไรเสียไม่ว่าจะมี  "หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุข" หรือไม่ แพทย์ทุกท่านพึงทำความเข้าใจ ปรึกษากับญาติให้ชัดเจนก่อนการทำ Passive Euthanasia ทุกราย**.



สัมพันธ์ คมฤทธิ์ พ.บ.
เลขาธิการแพทยสภา


โพสโดย somsak เมื่อ 1 กันยายน 2552 00:00
https://www.doctor.or.th/clinic/detail/7932

ความสำคัญของข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย

ข้อมูลประวัติสุขภาพผู้ป่วยมีความสำคัญในการรักษาพยาบาล ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การวางแผนการรักษา และยังมีประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพบริการของโรงพยาบาล (สถานพยาบาล)


ในต่างประเทศมีการศึกษาพบว่า การบันทึกเวชระเบียนที่ถูกต้องครบถ้วนยังมีส่วนช่วยลดปัญหาความไม่เข้าใจ การฟ้องร้องระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์อีกทางหนึ่ง และยังสามารถนำข้อมูลผู้ป่วยไปใช้ในการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย เมื่อมีการจัดทำข้อมูลเหล่านี้เป็นฐานข้อมูลหรือระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพในภาพใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และความรู้ทางสถิติเข้ามาช่วย ก็จะช่วยวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของประชากร และการกำหนดทิศทางนโยบายสุขภาพของประเทศ

ในการประชุมสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เพื่อจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์
พ.ศ.๒๕๕๓ จัดโดยแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพและภาคีเครือข่าย ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์นี้ และจะเสนอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป ผมได้มีโอกาสเป็นผู้แทนกลุ่มเสนอต่อที่ประชุมในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้านสุขภาพในยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนากลไกสนับสนุนด้านระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้านสุขภาพ (personal health information) เป็นสิทธิผู้ป่วยอย่างหนึ่ง ซึ่งแพทยสมาคมโลก (World Medical Association) รับรองไว้ในปฏิญญาลิสบอนว่าด้วยสิทธิผู้ป่วย โดยให้ความสำคัญใน ๒ เรื่องคือ

๑. สิทธิที่จะรับทราบข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับตนเองที่อยู่ในเวชระเบียน และต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ง่าย การปกปิดข้อมูลของแพทย์หรือสถานพยาบาลบางแห่งเพราะระแวงว่าจะถูกฟ้องร้อง จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เพราะในต่างประเทศถือว่าผู้ป่วยเป็นเจ้าของข้อมูล

๒. การรักษาความลับของข้อมูลประวัติการรักษาอย่างเหมาะสม จะเปิดเผยได้ต่อเมื่อผู้ป่วยยินยอม หรือเป็นกรณีจำเป็นด้านสุขภาพ มีคดีความที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องทราบข้อมูลนั้น หรือมีกฎหมายกำหนดไว้ให้เปิดเผยได้  

ปัจจุบันหลักเกณฑ์เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลด้านสุขภาพพบในกฎหมายหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.๒๕๔๒ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.๒๕๒๕ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่หลักเกณฑ์เหล่านี้ยังขาดความสมบูรณ์ ไม่เป็นระบบ ดังนั้นเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๒ คณะรัฐมนตรีจึงเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร เนื้อหาของร่างกฎหมายนี้ครอบคลุมระบบจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในภาคเอกชน เช่น ข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยที่รักษาตัวในสถานพยาบาลเอกชน (โรงพยาบาล คลินิก) ไม่ว่าจะเป็นการเก็บ รักษา การใช้ การเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วย สิทธิในข้อมูลของผู้ป่วย การรักษาความปลอดภัย

กล่าวโดยสรุปได้ว่าข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อตัวผู้ป่วย การให้บริการสาธารณสุข และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตสุขภาพของประชาชนโดยรวม


โพสโดย somsak เมื่อ 1 พฤษภาคม 2553 00:00
https://www.doctor.or.th/article/detail/10964

ความยินยอมของผู้ป่วยในการรักษาตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ

 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๘ ระบุเรื่องการให้ความยินยอมของผู้ป่วยในการรักษาทางการแพทย์มีเนื้อหาคือ แพทย์ที่ให้การรักษามีหน้าที่แจ้งข้อมูลที่เพียงพอ ในการตัดสินใจรับบริการด้านสาธารณสุขของผู้ป่วย (ผู้รับบริการ) หรือที่เรียกว่า หลักความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว (informed consent) หลักการในเรื่องนี้สอดคล้องกับหลักสากลคือปฏิญญาลิสบอนว่าด้วย “สิทธิผู้ป่วย” ของแพทยสมาคมโลก (The World Medical Association Declaration on the Rights of the Patient) ซึ่งระบุว่า ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองโดยอิสระ โดยแพทย์จะต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ของการตรวจวินิจฉัยหรือบำบัดรักษา ผลที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจนั้น ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องเข้าใจข้อมูล คำอธิบายนั้นด้วย ผู้ป่วยที่เข้าใจวิธีการรักษาแล้ว จะยินยอมให้แพทย์รักษาหรือไม่ก็ได้


สำหรับข้อความในวรรคสองของมาตรา ๘ ที่ระบุว่า ผู้ให้บริการซึ่งรวมถึงแพทย์ไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดกับผู้รับบริการหรือผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่แจ้งข้อมูลที่รู้หรือควรแจ้งให้แพทย์ทราบนั้น ไม่สอดคล้องกับปฏิญญาว่าด้วยสิทธิผู้ป่วยข้างต้น และไม่มีประเทศไหนที่บัญญัติกฎหมายในลักษณะนี้ ข้อความในวรรคสองนี้เกิดจากการผลักดันของแพทย์บางกลุ่มในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ดังนั้น สมควรที่จะพิจารณาตัดข้อความในวรรคสองของมาตรา ๘ ออกไป เพราะขัดต่อหลักกฎหมายและข้อเท็จริง กล่าวคือผู้ป่วยที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ย่อมไม่มีความรู้ทางการแพทย์ที่จะบอกข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับตนเองได้ ในทางกลับกันผู้ให้การรักษาต่างหากที่มีหน้าที่แจ้งข้อมูลให้ผู้ป่วยทราบ เช่น ซักถามประวัติการแพ้ยา หรืออาการข้างเคียงที่สังเกตได้



มาตรา ๘ วรรคท้าย บัญญัติข้อยกเว้นในเรื่องการแจ้งข้อมูลเพื่อขอความยินยอมจากผู้ป่วย ๒ กรณีคือ (๑) มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต แพทย์ก็สามารถให้การช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน โดยสันนิษฐานว่าผู้ป่วยให้ความยินยอมแล้ว และควรพิจารณาตามหลักประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย (the best interest of the patient) หรือ (๒) กรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจสื่อสารกับผู้อื่นได้ ก็ให้ขอความยินยอมจากผู้มีอำนาจปกครองดูแลหรือญาติผู้ป่วยแทนได้ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ยอมรับกันทั่วไป



กฎหมายเป็นเพียงกติกาที่ช่วยควบคุม กำกับความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย แต่หากแพทย์มีจิตวิญญาณมุ่งมั่นที่จะดูแลรักษาผู้ป่วยเสมือนญาติพี่น้อง คนใกล้ชิดของตนแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายสุขภาพแห่งชาติมาตรานี้

โพสโดย somsak เมื่อ 1 กรกฎาคม 2553 00:00
Health Law 375 July.53  หมอชาวบ้าน ฉ.375 เดือนกรกฎาคม 2553   5.6.53 --- 7.6.53

https://www.doctor.or.th/article/detail/11009

"เวชระเบียน" มุมมองทางกฎหมาย

ในปัจจุบัน การบันทึกเวชระเบียน” ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากทั้งทางมุมมองด้านมาตรฐานทางวิชาชีพและมุมมองในทางกฎหมาย ซึ่งในบทความนี้จะเน้นการกล่าวถึงมุมมองในทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเวชระเบียนเป็นสำคัญ


ความหมาย
มีผู้ให้ความหมายของ“Medical record” หรือ“Health record”ว่าคือ“systematic documentation of a patient’s medical history and care”ซึ่งน่าจะแปลเป็นภาษาไทยได้ว่าการบันทึกประวัติทางการแพทย์และการดูแลรักษาของผู้ป่วยอย่างเป็ระบบ
”http://medlawstory.com/contentimage/043.pdf

Legal aspects of medical record
สิงหาคม 2552
พิทูร ธรรมธรานนท์
วิสัญญีแพทย์
นิติศาสตร์บัณฑิต,เนติบัณฑิตไทย
www.medlawstory.com
thaimedlaw@yahoo.com


ประโยชน์ของการบันทึกเวชระเบียนที่ดี
 ช่วยในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วย (support patient care)
- provide continuity of care to individual patient
- continuity in evaluation of treatment
- basis for planning patient care
ช่วยให้การสื่อสารระหว่างทีมงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 ใช้ในการประเมินคุณภาพการดูแลรักษา
 ใช้ในการศึกษา วิจัย การสอน
 ใช้เป็นข้อมูลในด้านการบริหารจัดการ เช่น การบริหารความเสี่ยง
 ใช้เป็นพยานหลักฐานทางกฎหมาย ประโยชน์ข้อนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากหากมีการร้องเรียนหรือฟ้องร้อง เวชระเบียนก็จะถูกนำมาใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมากในทางคดี

ถ้าบันทึกไม่ดีแล้วจะมีข้อเสียอย่างไร
 ทำแต่ไม่บันทึก ....ก็ถือว่าไม่ได้ทำ ....ขาดพยานหลักฐาน
 เข้าข่ายไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ?....ประมาท?

แง่มุมทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเวชระเบียน
เกี่ยวกับเวชระเบียนและการบันทึกเวชระเบียน มีประเด็นในทางกฎหมายที่สำคัญดังนี้
1. Confidentiality (ความลับ)
2. Security (ความปลอดภัย)
3. Accessibility / ownership (การเข้าถึงข้อมูลความเป็นเจ้าของ)
4. Amending / correcting (การแก้ไข เพิ่มเติม)
5. documentary evidence (พยานเอกสาร)

โดยประเด็นดังกล่าวข้างต้นนี้ ต่างประเทศได้วางหลักการหรือแนวคิดไว้ค่อนข้างชัดเจนพอสมควรแล้ว เช่น กล่าวไว้ใน คำปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของผู้ป่วยโดยสมาคมแพทย์แห่งโลก นอกจากนี้ ในตำราและบทความของต่างประเทศก็ได้มีการกล่าวไว้อย่างกว้างขวาง ในบางประเทศก็ได้ให้ความสำคัญจนมีการบัญญัติเป็นกฎหมายไว้เลยก็มี เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ในส่วนของประเทศไทยนั้น มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวอยู่บ้าง แต่บางประเด็นก็อาจจะไม่ได้ลงรายละเอียดอย่างลึกซึ้ง กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องของไทยมีดังนี้
..ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.๒๕๔๐
..สุขภาพแห่งชาu3605 ติ พ.๒๕๕๐
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย

Confidentiality (ความลับ)
เรื่องการรักษาความลับด้านข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผู้ให้บริการต้องปกป้องสิทธินี้ของผู้ป่วย แม้ข้อมูลเกี่ยวกับด้านสุขภาพของผู้ป่วยในบางกรณีอาจไม่น่าจะมีความสำคัญมากจนขั้นถือว่าเป็นความลับ แต่ผู้ให้บริการควรถือเป็นหลักไว้เสมอว่า ข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพของเขานั้นเป็นความลับเสมอ ห้ามเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบ ในประการที่น่าจะทำให้ผู้ป่วยเสียหาย แม้เป็นการเปิดเผยต่อญาติสนิทของผู้ป่วยก็ตาม ดังที่ได้บัญญัติไว้ใน พ..สุขภาพแห่งชาติ พ.๒๕๕๐(มาตรา๗)อย่างไรก็ตามหลักการรักษาความลับในข้อมูลสุขภาพดังกล่าวข้างต้นนี้ ก็มีกรณียกเว้นที่สามารถเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วยต่อบุคคลอื่นได้ เช่น
 กรณีที่ทำตามความประสงค์ของเจ้าของข้อมูลเอง เช่นผู้ป่วยอนุญาตให้บอกแก่ผู้หนึ่งผู้ใดได้
 กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เช่นกรณีป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่มีกฎหมายระบุว่าให้ต้องแจ้งกับหน่วยงานราชการ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการที่ว่า ประโยชน์ของสาธารณะย่อมอยู่เหนือประโยชน์ส่วนบุคคล
 กรณีให้การในศาล ให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวน
 กรณีจำเป็นเพื่อป้องกันหรือระวังอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล (..ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.๒๕๔๐...มาตรา24(7)) ตัวอย่างกรณีที่เข้าข้อยกเว้นนี้ เช่น กรณีที่ผู้ป่วยตรวจพบว่ามีผล HIV เป็นบวก ผู้ให้บริการก็สามารถแจ้งแก่สามีหรือภรรยาของผู้รับบริการได้แม้เจ้าของข้อมูลจะไม่ยินยอมก็ตาม (มีนักวิชาบางส่วนให้เหตุผลกรณีนี้ว่าสามารถอ้างโดยใช้หลัก ทำด้วยความจำเป็นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา67(2))
หมายเหตุ ในการให้บริการทางการแพทย์ ย่อมต้องมีการเปิดเผยข้อมูลทางด้านสุขภาพต่อบุคลากรอื่นที่ต้องร่วมดูแลผู้ป่วย หากการเปิดเผยหรือส่งต่อข้อมูลแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องดังกล่าวด้วยความระมัดระวัง ในวงจำกัด เท่าที่จำเป็น และไม่มีลักษณะที่น่าจะทำให้ผู้ป่วยได้รับความเสียหาย ก็ไม่น่าจะถือว่าเป็นการทำที่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด

Security (ความปลอดภัย)
เวชระเบียนและข้u3629 อมูลที่อยู่เวชระเบียน ควรมีระบบจัดเก็บที่รัดกุม ป้องกันการสูญหาย รวมถึง มีการป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะกรณีที่มีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเสี่ยงต่อการเข้าถึงข้อมูลโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจได้ง่าย
กว่า เนื่องจากข้อมูลที่บันทึกอยู่ในเวชระเบียนอาจต้องใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานกรณีที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีความ การมีระบบรักษาความปลอดภัยของเวชระเบียนที่ดีนั้น ย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่อยู่ในเวชระเบียนด้วย

Accessibility / ownership (การเข้าถึงข้อมูล/ความเป็นเจ้าของ)
ในการให้บริการผู้ป่วย หลายคนคงเคยถูกผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วยขอดูหรือขอถ่ายสำเนาเวชระเบียน แม้ว่าวัสดุที่ประกอบกันขึ้นเป็นเวชระเบียนเช่น กระดาษแผ่นฟิล์มเอ็กซเรย์)จะเป็นกรรมสิทธิ์ของสถานพยาบาลก็ตาม แต่สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการทราบคือข้อมูลที่ปรากฏหรือถูกบันทึกไว้ในเวชระเบียน ในเรื่องนี้มีข้อสรุปที่ถือเป็นหลักสากลแล้วว่า
“ ผู้ป่วยที่เป็นเจ้าของข้อมูลด้านสุขภาพเองนั้น มีสิทธิในการขอดูและขอคัด
สำเนา(copy)ข้อมูลที่อยู่ในเวชระเบียนของตน

ในส่วนของประเทศไทยนั้นคำประกาศสิทธิของผู้ป่วย (ข้อ 9) ได้บัญญัติรับรองสิทธิดังกล่าวไว้ว่า ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น

ในพ..ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.๒๕๔๐ ก็มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
บุคคลมีสิทธิขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ (มาตรา๒๕)” (ข้อสังเกต กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐไม่ใช่เอกชนเนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติทางกฎหมายที่กล่าวถึงสิทธินี้ไว้ อย่างกว้างขวางและรัดกุมทำให้ในทางปฏิบัติอาจมีปัญหาได้ ผู้เขียนจึงขอแนะนำแนวทางดังนี้

1. กรณีผู้ป่วยขอดูและขอคัดสำเนาเวชระเบียนของเขาเอง ควรดำเนินการให้ตามความประสงค์ของเขา โดยสถานพยาบาลอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการถ่ายสำเนาตามสมควรได้ และต้องระวังว่า ข้อมูลที่ให้ไปนั้นต้องไม่มีส่วนที่เป็นข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นอยู่ด้วย

2. กรณีมีผู้อื่นมาขอดูหรือขอถ่ายสำเนาเวชระเบียน กรณีนี้ต้องแน่ใจว่า เขาได้รับมอบอำนาจจากผู้ป่วยจริง และเพื่อความรัดกุมควรมีหนังสือมอบอำนาจมาแสดงและควรสอบถามผู้ป่วยก่อนด้วย ตัวอย่างที่พบบ่อย คือ กรณีผู้ป่วยเจาะเลือดและเซ็นยินยอมให้ส่งข้อมูลให้บริษัททราบ

3. กรณีไม่ได้รับมอบอำนาจมาจากผู้ป่วย เช่น ทายาทมาขอสำเนาเวชระเบียนเนื่องจากผู้ป่วยตายแล้ว หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำการมอบอำนาจได้เช่นสมองพิการ กรณีดังกล่าวนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะกฎหมายไทยบัญญัติไว้ไม่ค่อยจสอดคล้องกับหลักของต่างประเทศนัก โดย พ...สุขภาพแห่งชาติ พ.๒๕๕๐(มาตรา๗)กล่าวว่า
ไม่ว่ากรณีใดๆผู้ใดจะอ้างสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้
แสดงว่า หากผู้ป่วยไม่ได้มอบอำนาจไว้ก่อนทายาทหรือญาติสนิทหรือบุคคลอื่นก็ไม่สามารถขอสำเนาเวชระเบียนได้ (หมายเหตุ มีนักวิชาการบางท่านได้ให้ความเห็นว่า บทบัญญัติข้างต้นนี้ ห้ามเฉพาะการขอเอกสาร แต่ไม่ห้ามดู)

Amending / correcting (การแก้ไข เพิ่มเติม ลบ)
สิทธิในข้อนี้เป็นสิทธิทสี่ ืบเนื่องมาจากสิทธิในการเข้าถึงเวชระเบียน โดยมีหลักการว่า เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมหรือลบข้อมูลในเวชระเบียนเพื่อให้ถูกต้องและสมบูรณไ์ ด้ เช่น ขอแก้ไขประวัติการแพ้ยาให้ตรงกับความเป็นจริงขอแก้ไขเบอร์โทรศัพท์ หรือที่อยู่ให้เป็นปัจจุบัน
หมายเหตุ
 กฎหมายของประเทศไทยที่กล่าวถึงเรื่องนี้มีเพียงพ..ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.๒๕๔๐ แต่ก็ไม่ได้บัญญัติรายละเอียดไว้อย่างชัดเจน
 ผู้ให้บริการไม่มีความผูกมัดที่ต้องดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ป่วยเสมอไป ต้องดูเหตุผลและความเหมาะสมด้วย เช่น หากผู้ป่วยขอให้แก้ไขให้เป็นเท็จแพทย์ก็ไม่จำเป็นต้องทำตาม

documentary evidence
ในกรณีที่มีการฟ้องร้องกันในชั้นศาล ถือว่าเวชระเบียน เป็นพยานหลักฐานที่สำคัญในการค้นหาความจริงตามประเด็นข้อพิพาท ทำให้ในปัจจุบันมีการให้ความสำคัญกับการบันทึกเวชระเบียน ในมุมมองของการใช้เป็นพยานหลักฐานมากขึ้น โดยสิ่งที่พึงระลึกไว้เสมอคื
 หากทำแต่ไม่บันทึกไว้ในเวชระเบียน.......ก็ถือว่าไม่ได้ทำ
 การบันทึกเวชระเบียนที่ดี เปรียบเสมือนมิตรแท้ แต่การบันทึกเวชระเบียนที่ไม่ดี (เช่น บันทึกไม่ละเอียด ไม่เรียงตามลำดับเวลา ไม่สะท้อนกระบวนการคิดที่เป็นระบบ หรือบันทึกสิ่งที่เป็นไม่ตรงกับความจริงเปรียบเสมือนเป็นศัตรูของผู้บันทึก
 หลีกเลี่ยงการแก้ไข เพิ่มเติมเวชระเบียนภายหลังจากที่ได้เกิดadverse outcome แล้ว โดยเฉพาะการตกแต่งเพิ่มเติมในเรื่องที่เป็นเท็จ

ระยะเวลาในการเก็บเวชระเบียน
แต่เดิมมีบทบัญญัติใน พ...สถานพยาบาล ให้สถานพยาบาลเก็บเวชระเบียนไว้อย่างน้อย ปีนับแต่วันที่ผู้ป่วยมารับบริการครั้งสุดท้าย แต่เมื่อทบทวนแนวทางที่ใช้กันในต่างประเทศแล้ว พบว่ามีระยะเวลาแตกต่างกัน แต่มักนิยมเก็บนานไม่ต่ำกว่า 10 ปี โดยเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับการเกิด การคลอด อาจต้องเก็บนานจนกว่าเด็กจะบรรลุนิติภาวะ ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรพิจารณาถึงอายุความที่เกี่ยวข้องในการฟ้องร้องเป็นสำคัญ เพราะเวชระเบียนจะใช้เป็นพยานหลักฐานที่สำคัญในการพิจารณาคดี โดยในปัจจุบัน การฟ้องร้องคดีทางการแพทย์ นิยมฟ้องโดยใช้ พ...วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ ซึ่งมีอายุความยาวกว่าที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือไม่เกิน 10 ปีนับแต่รู้ว่าได้รับความเสียหาย ดังนั้นผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าควรต้องเก็บอย่างน้อย 10 ปี นับแต่มาใช้บริการครั้งสุดท้ายและแนะนำว่าควรพิจารณาเก็บนานกว่านั้น ในกรณีดังต่อไปนี้
 กรณีเกี่ยวข้องกับการเกิดการคลอด
 กรณีที่เกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากการรักษา

สรุป
จากที่กล่าวมาข้างต้น แง่มุมทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเวชระเบียนนั้นมีมากมายพอสมควร อีกทั้งในบางประเด็น กฎหมายของประเทศไทยก็ยังมีความไม่ชัดเจนและไม่แน่นอน ทำให้อาจมีปัญหาในทางปฏิบัติได้ แต่หากนำหลักการที่เป็นที่ยอมรับกันในต่างประเทศมาปรับใช้ก็น่าจะทำให้ลดปัญหาลงได้ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการบันทึกเวชระเบียนให้เป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสม เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ยังเป็นการป้องกันตนเองหากมีการฟ้องรัองเป็นคดีความด้วย

http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/data/env/law/knowledge/opd_handbook.pdf
ภาพของท่าน สวยงามและสื่อความหมายได้ชัดเจน เราขออนุญาตนำภาพของท่านมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมนะคะ หากขัดข้องประการใด รบกวนโทร 089-1326770