คงไม่มีแพทย์คนใดปฏิเสธว่าสิ่งที่กลัวมากที่สุดเรื่องหนึ่งในการประกอบวิชาชีพของเราคือ กลัวการถูกผู้ป่วยหรือญาติฟ้อง แพทย์จำนวนไม่น้อยหันไปประกอบอาชีพอื่น บทความนี้เป็นการนำเสนอความรู้จากการอ่านตำราจากต่างประเทศและแนวทางการบริหารจัดการสมัยใหม่รวมทั้งจากประสบการณ์ของตนเองและของเพื่อนๆพี่ๆ ซึ่งอาจถือไม่ได้ว่าเป็นสูตรสำเร็จแต่ถ้าใครปฏิบัติได้ตามแนวทางดังกล่าวเชื่อว่าในชีวิตความเป็นแพทย์คงรอดพ้นจากการฟ้องร้องเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
1) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย / ญาติ
หัวข้อนี้มีความสำคัญอย่างมาก ดังนั้นเราต้องพูดมากขึ้น และมีservice mind อยู่เสมอ
2) inform ( เพื่อ consent )
- ให้ข้อมูลมากพอที่ผู้ป่วยสามารถใช้ตัดสินใจได้
- บอก major risk/complications
- อย่าให้ผู้ป่วยตั้งความหวังในผลการรักษาไว้ 100 %
3) complete medical record
- อ่านง่าย
- รายละเอียดครบถ้วน
4) ทำในขอบเขตวิชาชีพ
คือหลีกเลี่ยงการทำในสิ่งที่เราไม่ชำนาญ เช่น เป็นรังสีแพทย์ก็ไม่ควรไปทำคลอด
5) equipment : กรณีมีการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ต้องศึกษาเรื่องต่อไปนี้ให้ละเอียด
- วิธีใช้งาน
- complication ที่สามารถเกิดได้จากการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้น
- maintenance คือต้องรู้วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือนั้น
6) ให้ความร่วมมือกับ risk management program
เป็นเรื่องที่แพทย์มักละเลยไม่ค่อยเห็นถึงความสำคัญ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ไร้สาระ หรือเป็นการจ้องจับผิด ซึ่งที่จริงแล้วหากแพทย์ให้ความร่วมมือ กระบวนการของ risk management จะช่วยสร้างระบบและช่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยมากขึ้น
7) improve&maintain quality care
คือต้องมีการประเมินคุณภาพบริการและพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เสมอ เพื่อมุ่งหวังให้ผู้รับบริการพึงพอใจและปลอดภัย
8)“ระมัดระวัง รอบคอบ รู้เท่าทัน”
9) learning organization
-continuous learning (up-to-date) หมายความว่าแพทย์จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง ไม่ล้าหลัง เพราะถ้าทำการรักษาแบบเก่าอาจถือว่า “ ไม่ได้มาตรฐาน” โดยวิธีการหาความรู้นอกจากการอ่าน textbook journalหรือการอบรมดูงานแล้ว การทำcase conference, peer review ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้เพราะจะเกิดการ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์โดยที่เราไม่รู้ตัว
- หมายเหตุ ในตำราทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ได้ห้ความสำคัญกับวัฒนธรรมขององค์กรที่เป็น“องค์กรแห่งการเรียนรู้” อย่างมากเพราะจากการศึกษาองค์กรหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี พบว่ามีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือองค์กรดังกล่าวมีการสร้างวัฒนธรรมจนเป็น“องค์กรแห่งการเรียนรู้” ส่วนองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นแม้ว่าจะประสบความสำเร็จได้แต่มักไม่มีความยั่งยืน
10)ทำตาม standard guidelines
ปัจจุบันแผนกต่างๆมักมีการทำ clinical practice guideline ดังนั้นเมื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติในเรื่องนั้นๆขึ้นมาแล้วก็ผูกมัดให้แพทย์แผนกดังกล่าวปฏิบัติตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ หากกระทำการเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานนั้นแล้วเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย ก็มักถูกมองว่าทำผิดมาตรฐานไว้ก่อน
11)ศึกษา&ทบทวนระเบียบ/ข้อตกลง
เช่นเดียวกับเรื่อง practice guideline หน่วยงานต่างๆมักมีการกำหนดข้อตกลงหรือระเบียบปฏิบัติในเรื่องต่างไว้ซึ่งอาจเป็นการตกลงระหว่างหน่วยงานต่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกรวดเร็วหรือเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่นอาจมีการกำหนดว่าการย้ายผู้ป่วยหนักจาก ER ขึ้นICU ต้องมีแพทย์ตามไปส่ง ในกรณีนี้หากแพทย์ไม่ยอมไปส่งแล้วผู้ป่วยเกิดเสียชีวิตระหว่างอยู่ในลิฟท์ แพทย์อาจถูกฟ้องได้
12)หาความรู้กฎหมาย
เพื่อว่าจะได้รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรในบางสถานการณ์ เช่น
“ข้อบังคับของแพทย์สภา”
“สิทธิผู้ป่วย”
“พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”
นพ.พิทูร ธรรมธรานนท์
พบ. นบ.
เนติบัณฑิตไทย www.medlawstory.com
ให้คุณรู้กฎหมายการแพทย์ได้ง่ายขึ้น
พบ. นบ.
เนติบัณฑิตไทย www.medlawstory.com
ให้คุณรู้กฎหมายการแพทย์ได้ง่ายขึ้น