หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ใครเป็นเจ้าของเวชระเบียน

 เวชระเบียนถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถานพยาบาล   แต่ผู้ป่วยเป็นเจ้าของข้อมูลที่บันทึกและมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นได้
 ข้อมูลของผู้ป่วยดังกล่าวถือเป็นความลับ (Confidentiality) ห้ามมิให้เผยแพร่เว้นแต่ผู้ป่วยหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีหมายเรียกจากศาล
การให้ความยินยอม (Consent)
 เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด ถือว่าผู้ป่วยให้ความยินยอมโดยปริยาย (Implied consent) ที่จะให้หมอทำการตรวจร่างกาย เมื่อหมอสั่งให้ผู้ป่วยตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยก็ให้ความร่วมมือทันที ถือว่าเป็นการให้ความยินยอมโดยปริยายแล้วเช่นกัน

     การให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูล (Informed Consent)
 ในการรักษาที่มีความซับซ้อนเช่น จำเป็นต้องทำการผ่าตัดหรือตรวจหา H.I.V. การให้ความยินยอมโดยปริยายไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะต้องเซ็นยินยอมลงในแบบให้ความยินยอม (consent form) การให้ความยินยอมดังกล่าวผู้ป่วยจะต้องได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่เพียงพอก่อนการตัดสินใจลงชื่อ หากผู้ป่วยยอมลงชื่อย่อมหมายความว่าผู้ป่วยทราบว่า
- วิธีการรักษาจะเป็นอย่างไร
- ทำไมจึงต้องรักษาด้วยวิธีนั้น
- มีความเสี่ยงอย่างใด
- มีวิธีการรักษาแบบทางเลือกอื่น ๆ อีกไหม และวิธีนั้นมีความเสี่ยงไหม
- หากปฏิเสธไม่รักษาจะมีความเสี่ยงเพียงใดหรือไม่
การให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูล แสดงว่าผู้ป่วยทราบข้อมูลเพียงพอก่อนที่จะตัดสินใจรับการรักษาหรือปฏิเสธการรักษา ทั้งยังแสดงว่าผู้ป่วยได้กระทำโดยปราศจากการข่มขู่
สำหรับผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถจะต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล
เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน
     การให้ความยินยอมในกรณีฉุกเฉิน ( Emergency )
ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุรุนแรงต้องทำการผ่าตัดโดยเร่งด่วน และไม่สามารถ
ติดต่อญาติได้ทัน หมอสามารถทำการผ่าตัดผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม ถือว่าหมอได้กระทำโดยไม่จำเป็นหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หมอไม่ต้องรับโทษ
     การกระทำโดยประมาท  ( Negligence)
 คดีที่ฟ้องหมอส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความประมาท หากผู้เสียหายพิสูจน์ได้ว่าหมอกระทำโดยประมาทจริง หมออาจต้องรับโทษทั้งทางอาญา ซึ่งอาจจะต้องติดคุกติดตะรางหรือถูกปรับ และยังจะต้องรับโทษทางแพ่ง ซึ่งจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายอีกด้วย
ความรับผิดทางอาญาฐานกระทำโดยประมาท
 องค์ประกอบความรับผิดทางอาญาฐานกระทำโดยประมาทบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรค 4 ความว่า
 “กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
 หากพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำโดยประมาทจริง ผู้กระทำผิดอาจได้รับโทษทางอาญาหนักเบา แตกต่างกันดังนี้
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291   “ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้
ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และ
ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ”
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291   “ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท”
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390  “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
สำหรับความรับผิดทางแพ่งเป็นเรื่องความทางละเมิด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 บัญญัติว่า
 “ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นกระทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
 คำว่าประมาททางอาญากับประมาทเลินเล่อทางแพ่งมีความหมายเหมือนกัน   กล่าวคือเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง   ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดมะวังเช่นนั้นได้ แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่โดยเปรียบเทียบกับ
1. บุคคลที่มีความระมัดระวังตามฐานะในสังคมเช่นเดียวกับผู้กระทำผิด เช่นเด็กย่อมไม่อาจระมัดระวังได้เท่ากับผู้ใหญ่ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปอาจไม่ระมัดระวังได้ดีเท่ากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
2. พฤติการณ์ภายนอกทั่ว ๆ ไป คำพิพากษาำำฎีกาที่ 769/2510 : จำเลยเป็นหญิงอายุ 28 ปี ขับรถมาคนเดียวขณะหยุดรถรอสัญญาณไฟเมื่อเวลา 21 นาฬิกา มีคนร้ายเปิดประตูเข้าไปนั่งคู่และใช้ระเบิดมือขู่ให้ขับรถไป จำเลยตกใจขับรถฝ่าไฟออกไปชนรถที่แล่นสวนมาโดยไม่เจตนา พฤติการณ์เช่นนี้จะว่าการชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยไม่ได้
 จากตัวอย่างคำพิพากษาคดีนี้ เห็นได้ว่าเหตุที่จำเลยขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดงไปชนรถผู้เสียหายเป็นเพราะมีคนร้ายเปิดประตูเข้าไปนั่งคู่ จำเลยจึงเกิดอาการตกใจ ตามพฤติการณ์ดังกล่าว จะให้จำเลยใช้ความระมัดระวังเช่นปกติไม่ได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าจำเลยมิได้ประมาท http://www.lannatoday.net/index.php/-5/388-31-53-
ภาพของท่าน สวยงามและสื่อความหมายได้ชัดเจน เราขออนุญาตนำภาพของท่านมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมนะคะ หากขัดข้องประการใด รบกวนโทร 089-1326770