ในชีวิตคนเราที่ต้องทำงานในแต่ละวันนั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันในขณะที่ทำงานได้เสมอ และจุดนี้เองที่รัฐบาลได้เล็งเห็น จึงนำไปสู่การจัดตั้ง "กองทุนเงินทดแทน" (workmen's compensation fund) เพื่อเป็นทุนให้มีการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย อันเนื่องจากการทำงาน สำหรับลูกจ้าง หรือคนทำงาน
กองทุนเงินทดแทน คืออะไร (workmen's compensation fund)
กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 เพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตาย หรือสูญเสียเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง
ใครเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ และผู้ได้รับประโยชน์
นายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว เพียงปีละ 1 ครั้ง มีลักษณะเหมือนเบี้ยประกัน และเมื่อลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างเล้วเกิดประสบอันตราย ลูกจ้างก็จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วยค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ
เงินสมทบ คือเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะทำการเรียกเก็บจากนายจ้างเป็นรายปี โดยแจ้งจำนวนเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ทราบตามใบแจ้งเงินสมทบ เงินสมทบนี้จะคิดจากค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการนั้นซึ่งนายจ้างแต่ละประเภทจะจ่ายในอัตราเงินสมทบหลักที่ไม่เท่ากัน ระหว่างอัตรา 0.2 เปอร์เซ็นต์ - 1.0 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัยตามลักษณะงานของกิจการของนายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบตามอัตราหลัก 4 ปี ติดต่อกันและในปีที่ 5 เป็นต้นไป จะมีการคำนวฯอัตราส่วนการสูญเสียเพิ่มลด -เพิ่ม อัตราเงินสมทบให้นายจ้าง
ขอบข่ายความคุ้มครอง
ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 บังคับใช้กับสถานประกอบการธุรกิจเอกชนทุกประเภท ที่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ทั่วราชอาณาจักร ยกเว้น
1. ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
2. รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
3. นายจ้าง ซึ่งประกอบธุรกิจโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะในส่วนที่เกี่ยว กับครู หรือครูใหญ่
4. นายจ้างซึ่งดำเนินกิจการ ที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ
5. นายจ้างอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
นายจ้างในกิจการใดบ้าง มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ
นายจ้างในทุกประเภทกิจการและทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน และนายจ้างผู้ใดมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบกองทุนแล้วยังคงมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบต่อไป แม้ว่าภายหลังจะมีลูกจ้างไม่ถึง 10 คนก็ตาม
กำหนดเวลายื่นแบบขึ้นทะเบียน
นายจ้างจะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 10 คน
สถานที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียน
กำหนดให้นายจ้างยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ ณ ท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นได้ที่ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ 1 (ดินแดง) เขตพื้นที่ 2 (เขตบางขุนเทียน) เขตพื้นที่ 3 (รามอินทรา) เขตพื้นที่ 4 (คลองเตย) เขตพื้นที่ 5 (ประชาชื่น) เขตพื้นที่ 6 (ธนบุรี) และเขตพื้นที่ 7 (พระนคร) ในเขตต่างจังหวัด ยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด
เอกสารอะไรบ้างที่ต้องนำมาในวันยื่นแบบ
เอกสารที่นายจ้างจะต้องนำมาในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน ได้แก่
- แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (แบบ สปส.1-01) ใช้ชุดเดียวกับการขึ้นทะเบียนกองทุนประกันสังคม
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
- สำเนาใบทะเบียนภาษีมุลค่าเพิ่ม (แบบ ภพ.20) หรือสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (แบบ รง.4)
- แผนผังแสดงที่ตั้งของสำนักงาน หรือโรงงานของนายจ้าง
เมื่อนายจ้างยื่นแบบขึ้นทะเบียนแล้ว จะได้รับอะไรเป็นหลักฐาน
- เลขที่บัญชี ซึ่งจะเป็นเลขเดียวกับกองทุนประกันสังคม เพื่อใช้อ้างอิงในการติดต่อ
- ใบแจ้งเงินสมทบ เพื่อแจ้งให้นายจ้างทราบถึงจำนวนเงินสมทบที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุน พร้อมทั้งกำหนดวันที่ซึ่งนายจ้างจะต้องนำเงินมาจ่าย
นายจ้างจะต้องจ่าย เงินสมทบประจำปีเมื่อใด
กองทุนเงินทดแทนจะเรียกเก็บเงินสมทบจากนายจ้างเป็นรายปี (ปีละ 1 ครั้ง) โดยในปีแรก นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 10 คน สำหรับปีต่อ ๆ ไป จ่ายภายในเดือน มกราคมของทุกปี เงินสมทบที่เรียกเก็บเมื่อต้นปีนั้น คิดมาจากจำนวนเงินค่าจ้างที่ได้ประมาณการไว้ล่วงหน้าซึ่งอาจไม่เท่ากับค่าจ้างจริงที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากในระหว่างปี นายจ้างอาจมีการเพิ่มหรือลดจำนวนลูกจ้างปรับอัตราค่าจ้างเป็นต้น ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปีจึงให้นายจ้างแจ้งจำนวนค่าจ้างรวมทั้งปี มายังสำนักงานอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้นำไปเปรียบเทียบกับเงินสมทบที่เก็บไว้เมื่อต้นปี หากเงินสมทบที่เก็บไว้เดิมน้อยกว่าก็จะเรียกเก็บเพิ่ม ภายใน 31 มีนาคม หากจำนวนเงินค่าจ้างรวมทั้งปีต่ำกว่าเดิมนายจ้างจะได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินไว้คืนไป
วิธีการจ่ายเงินสมทบ
นายจ้างจะชำระเงินสมทบด้วยเงินสด เช็ค ดร๊าฟ หรือ ธนาณัติ หรือชำระผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด ทุกสาขา
เมื่อใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง
สิทธิจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อนายจ้างมีลูกจ้างครบ 10 คน ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่จะต้องขึ้นทะเบียน ภายใน 30 วัน ตามกฎหมายกำหนด
ทำอย่างไรเมื่อลูกจ้างเจ็บป่วย หรือประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน
1. นายจ้างต้องให้การรักษาพยาบาลแก่ลูกจ้างโดยทันที
2. แจ้งให้เจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทนทราบภายใน 15 วัน นับจากวันที่นายจ้างทราบการเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย หรือสูญหาย ตามแบบ กท.16
3. ลูกจ้างสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลใดก็ได้ โดยทดลองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วนำใบเสร็จรับเงิน ไปเบิกคืนภายใน 90 วัน หรือ
4. ใช้แบบ กท.44 ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล หากสถานพยาบาลนั้นอยู่ในความตกลงกับกองทุนเงินทดแทน ทางสถานพยาบาลจะเรียกเก็บ ค่ารักษาพยาบาล จากกองทุนเงินทดแทนเอง
กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว จะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้รับค่ารักษาพยาบาล และค่าทดแทนจำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือน หากต้องหยุดพักรักษาตัวติดต่อกันเกิน 3 วัน ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 ปี
กรณีสูญเสียอวัยวะจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนจำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือนในการหยุดพักรักษาตัว และค่าทดแทน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือน ในการสูญเสียอวัยวะ ไม่เกิน 10 ปี กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู จะได้รับค่าฟื้นฟูค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูด้านการแพทย์ และอาชีพเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 20,000 บาท
กรณีทุพพลภาพจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าทดแทน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี
กรณีถึงแก่ความตาย หรือสูญหายจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้รับค่าทำศพเป็นเงิน 100 เท่า ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันและค่าทดแทน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลา 8 ปี
ค่าทดแทนจะได้รับเมื่อไรและอย่างไร
ค่าทดแทน กรณีหยุดงาน สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย จะได้รับในอัตราที่ต้องไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท และไม่เกิน 9,000 บาท ต่อเดือน
จะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้อย่างไร
ให้นำใบเสร็จรับเงินมาเบิกคืนได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่จ่ายแต่ถ้าทำการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับกองทุน สถานพยาบาลนั้นจะเรียกเก็บเงินจากกองทุนโดยตรง
เมื่อมารับเงินใช้หลักฐานอะไรบ้าง
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ซึ่งมีรูปถ่ายด้วย หากไม่ได้มารับด้วยตนเองจะต้องมีใบมอบฉันทะพร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบมาแสดงด้วย
นายจ้างที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 10 คน ต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ แต่เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทน เพื่อออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างตามสิทธิ เช่นเดียวกับที่กองทุนเงินทดแทนจ่าย
ค่ารักษาพยาบาล
ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 13 พ.ค. 51เป็นต้นไป
หมายเหตุ
ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนจำนวน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือนในการหยุดพักรักษาตัว และค่าทดแทน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือน ในการสูญเสียอวัยวะ ไม่เกิน 10 ปี กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู จะได้รับค่าฟื้นฟูค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูด้านการแพทย์ และอาชีพเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 20,000 บาท
กรณีทุพพลภาพจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าทดแทน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี
กรณีถึงแก่ความตาย หรือสูญหายจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้รับค่าทำศพเป็นเงิน 100 เท่า ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันและค่าทดแทน 60 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลา 8 ปี
ค่าทดแทนจะได้รับเมื่อไรและอย่างไร
ค่าทดแทน กรณีหยุดงาน สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย จะได้รับในอัตราที่ต้องไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท และไม่เกิน 9,000 บาท ต่อเดือน
จะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้อย่างไร
ให้นำใบเสร็จรับเงินมาเบิกคืนได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่จ่ายแต่ถ้าทำการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับกองทุน สถานพยาบาลนั้นจะเรียกเก็บเงินจากกองทุนโดยตรง
เมื่อมารับเงินใช้หลักฐานอะไรบ้าง
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ซึ่งมีรูปถ่ายด้วย หากไม่ได้มารับด้วยตนเองจะต้องมีใบมอบฉันทะพร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบมาแสดงด้วย
นายจ้างที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 10 คน ต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ แต่เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทน เพื่อออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างตามสิทธิ เช่นเดียวกับที่กองทุนเงินทดแทนจ่าย
- กรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทน เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 45,000 บาท
- กรณีที่ค่ารักษาพยาบาลเกิน 45,000 บาท ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
- บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
- บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
- บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ
- บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือรากประสาท
- ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรม
- ประสบอันตรายจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก สารเคมี หรือไฟฟ้า จนถึงขั้นสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนังแท้เกินกว่าร้อยละ 30 ของร่างกาย
- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงและเรื้อรังตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
- กรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายเพิ่มอีก 65,000 บาท ไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ รวมค่ารักษาพยาบาลทั้ง 2 กรณีแล้ว ต้องไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 1 ถึง 6 ตั้งแต่สองรายการขึ้นไป
- ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 1 ถึง 6 ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ตั้งแต่ยี่สิบวันขึ้นไป
- บาดเจ็บอย่างรุนแรงของระบบสมองหรือไขสันหลังที่จำเป็นต้องรักษาตั้งแต่ 30 วันติดต่อกัน
- การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งรุนแรงและเรื้อรังจนเป็นผลให้อวัยวะสำคัญล้มเหลว
- กรณีค่ารักษาพยาบาลทุกกรณีไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังกล่าวเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 300,000 บาท โดยให้คณะกรรมการการแพทย์พิจารณาและคณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
- ในกรณีลูกจ้างเป็นผู้ป่วยใน มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ให้นายจ้างจ่ายตามจริงไม่เกินวันละ 1,300 บาท
ทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 13 พ.ค. 51เป็นต้นไป
หมายเหตุ
- ลูกจ้างเข้ารักษาในสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทน ไม่ต้องจ่ายค่ารักษา
- ถ้าเข้ารักษาในสถานพยาบาลอื่น ให้ทดรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน แล้วเบิกคืนจากกองทุนเงินทดแทนภายใน 90 วัน
- นายจ้างมีหน้าที่ส่งแบบแจ้งการประสบอันตราย (กท.16) พร้อมแบบส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล (กท. 44) ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่นายจ้างทราบ