หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การคุ้มครองแพทย์ทางกฎหมาย

            การประการใช้  พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 เป็นต้นมา (ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 113 ตอนที่ 60 ก. วันที่ 14 พฤษภาคม 2539)  นับว่าเป็นมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญที่จะคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทรวมทั้งบุคลกรด้านสุขภาพด้วยให้พ้นจากการถูกฟ้องคดีละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ 

            หลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ 

            1. คุ้มครองเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐทุกส่วนดังนิยามศัพท์ในกฎหมาย ดังนี้ 

            เจ้าหน้าที่หมายความว่า  ข้าราชการ  พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด 

            หน่วยงานของรัฐหมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม  ราชการส่วนภูมิภาค  ราชการส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ  ที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาและให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

ความลับผู้ป่วย

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗ วางหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (data protection) ที่เป็นข้อมูลประวัติสุขภาพไว้คือ ข้อมูลสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล การเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลไม่อาจทำได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือมีกฎหมายกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลได้

ข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๗ ดังกล่าว ถือเป็นสิทธิผู้ป่วยที่ควรได้รับการเคารพ ข้อยกเว้นที่จะเปิดเผยข้อมูลได้คือ เจ้าของข้อมูลยินยอมให้เปิดเผยได้ หรือมีกฎหมายบัญญัติให้เปิดเผยได้ เช่น โรงพยาบาลรัฐจะเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยได้ ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ สำหรับโรงพยาบาลเอกชนก็ควรปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน หรือหากมีโรคติดต่อระบาดขึ้น ก็สามารถเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยได้ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๒๓ อีกกรณีคือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ ย่อมสามารถทำได้เช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เวชระเบียน

เวชระเบียน (medical record) หมายถึง "รายงานคนไข้" คือ "เอกสารเรื่องราวเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ทำขึ้นไว้ประกอบการรักษาผู้ป่วย ได้แก่ เอกสารดังต่อไปนี้
1) บัตรตรวจโรคภายนอก
2) รายงานผู้ป่วยภายใน
ดังนั้นเวชระเบียนจึงเป็นเอกสารหลายรายการรวมกันเป็นแฟ้มหรือเป็นเล่ม รวมเอกสารหลายๆ แผ่นเข้าด้วยกันซึ่งมีความสำคัญทางกฎหมาย" http://www.elib-online.com/physicians/
เวชระเบียน (Medical Records) ในขณะที่หมอและพยาบาลทำการรักษาและดูแลคนไข้ หมอและพยาบาลจะต้องบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นระเบียบ บันทึกข้อมูลการรักษาดังกล่าวเรียกว่าเวชระเบียน เวชระเบียนมีเพื่อประโยชน์ดังนี้

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Law

กฎหมาย (อังกฤษ: law) หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
ภาพของท่าน สวยงามและสื่อความหมายได้ชัดเจน เราขออนุญาตนำภาพของท่านมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมนะคะ หากขัดข้องประการใด รบกวนโทร 089-1326770