หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเด็นน่ารู้:เอดส์ ?

1. กระบวนการตรวจเลือดเอดส์แก่ผู้ป่วยทุกรายก่อนการผ่าตัดทั่วไป โดยผู้ป่วยไม่ทราบวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน จนถึงเมื่อทราบผลเลือด แล้วก็ไม่บอกผลให้ผู้ป่วยเข้าใจชัดแจ้งจะต้องรับผิดตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
¾ เป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย ในกรณีที่แพทย์แอบเจาะเลือดก่อนผ่าตัดและเมื่อพบว่าผลเลือดติดเชื้อเอดส์แล้วเปลี่ยนการรักษา น่าจะเข้าข่ายการเลือกปฏิบัติ เป็นการละเมิดข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 หมวด 1 ข้อ 3 และอาจถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพโดยไม่รักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมในระดับที่ดีที่สุด อันเป็นการละเมิดข้อบังคับแพทยสภา หมวด 3 ข้อ 1 อีกด้วย เพราะคณะกรรมการเอดส์แห่งชาติได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการตรวจเลือดเพื่อทดสอบ HIVไว้ว่า ต้องมีกระบวนการ pre-counseling และ post-counseling รวมถึงการวางแผนเรื่องบอกผลเลือดกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามความต้องการของผู้ป่วย.
¾ การละเมิดสิทธิผู้ป่วยดังกล่าว อาจต้องรับผิดตามกฎหมายวิชาชีพ คือถูกฟ้องร้องต่อแพทยสภาเรื่องจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และอาจถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง เป็นคดีละเมิดได้.
¾ แต่ในแง่ความผิดในคดีอาญานั้น ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นความผิดทางอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด.

2. ในกรณีผ่าตัดฉุกเฉิน และผู้ป่วยหมดสติ แพทย์มีสิทธิเจาะเลือดเพื่อตรวจเอดส์ก่อนทำหัตถการ หรือไม่
¾ แท้จริงแล้วการผ่าตัดหรือทำหัตถการใดๆ ควรใช้หลักการของ universal precaution แก่ผู้ป่วยทุกราย ไม่ว่าขณะนั้นจะตรวจเลือดแล้วพบว่าติดเชื้อหรือไม่ก็ตาม. แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต้องมีความระมัดระวังเรื่องการทำงานกับเลือดอย่างเต็มที่. การไม่ปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอาจเป็นความประมาทอย่างหนึ่งก็ได้.
¾ การตรวจเลือดเพื่อตรวจเอดส์ก่อนการผ่าตัดใดๆ ไม่น่าจะมีผลโดยตรงต่อการรักษาเพียงแต่มีผลต่อจิตใจผู้รักษา. การอ้างเรื่องการล้างเครื่องมือผ่าตัดและชุดผ่าตัดเป็นพิเศษเฉพาะรายที่ติดเชื้อเอดส์ไม่น่าจะถูกต้อง เนื่องจากผู้ติดเชื้อทางเลือดชนิดอื่นๆ ก็ควรถูกแยกเครื่องมือเช่นเดียวกัน.

3. การติดสัญลักษณ์หรือสติกเกอร์เพื่อบ่งบอกสภาพผู้ติดเชื้อไว้ที่ปกเวชระเบียน ถือเป็นการ ละเมิดสิทธิผู้ป่วยหรือเปิดเผยความลับผู้ป่วยหรือไม่
¾ การทำเครื่องหมายหน้าเวชระเบียนให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ถือว่าระบบเวชระเบียนของสถานพยาบาลนั้นผิด ที่เปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยอย่างโจ่งแจ้ง แต่การติดเป็นสัญลักษณ์บางอย่างเพื่อสื่อกันภายในหมู่ผู้ทำงานอาจจะทำได้แนบเนียนกว่า ทั้งนี้ต้องเป็นไปเพื่อผลการรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม. อย่างไรก็ตาม อาจบันทึกผลเลือดไว้ภายในเวชระเบียน โดยอยู่ในตำแหน่งหรือซองที่เย็บติดเพื่อให้ไม่ประเจิดประเจ้อเกินไป.
¾ อย่างไรก็ตาม ความลับผู้ป่วยไม่ใช่ความลับที่รู้กันเพียงสองคนระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย. การเปิดเผยข้อมูลให้ทราบถึงกันในหมู่ผู้ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย ที่เป็นไปเพื่อการดูแลรักษาที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยจะไม่ถือว่าเป็นการเปิดเผยความลับของผู้ป่วย เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องเก็บรักษาความลับผู้ป่วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ว่าด้วยการเปิดเผยความลับผู้ป่วย กฎหมายมิได้เอาโทษเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ยังรวมถึงผู้ช่วยและ  นักศึกษาด้วย. ทุกสถานพยาบาลจึงควรมีการอบรมบุคลากรทุกระดับให้เข้าใจเรื่องหน้าที่ในการเก็บรักษาความลับผู้ป่วยและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะมีโทษทางอาญา.
¾ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องรับผิดทางอาญาแล้ว ยังต้องรับผิดต่อองค์กรวิชาชีพของตนเองด้วย กล่าวคือ แพทย์ต้องรับผิดต่อแพทยสภา พยาบาลต้องรับผิดต่อสภาการพยาบาล เป็นต้นhttp://www.doctor.or.th/node/8234

ใครเป็นเจ้าของเวชระเบียน

 เวชระเบียนถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถานพยาบาล   แต่ผู้ป่วยเป็นเจ้าของข้อมูลที่บันทึกและมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นได้
 ข้อมูลของผู้ป่วยดังกล่าวถือเป็นความลับ (Confidentiality) ห้ามมิให้เผยแพร่เว้นแต่ผู้ป่วยหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีหมายเรียกจากศาล
การให้ความยินยอม (Consent)
 เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัด ถือว่าผู้ป่วยให้ความยินยอมโดยปริยาย (Implied consent) ที่จะให้หมอทำการตรวจร่างกาย เมื่อหมอสั่งให้ผู้ป่วยตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยก็ให้ความร่วมมือทันที ถือว่าเป็นการให้ความยินยอมโดยปริยายแล้วเช่นกัน

     การให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูล (Informed Consent)
 ในการรักษาที่มีความซับซ้อนเช่น จำเป็นต้องทำการผ่าตัดหรือตรวจหา H.I.V. การให้ความยินยอมโดยปริยายไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะต้องเซ็นยินยอมลงในแบบให้ความยินยอม (consent form) การให้ความยินยอมดังกล่าวผู้ป่วยจะต้องได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่เพียงพอก่อนการตัดสินใจลงชื่อ หากผู้ป่วยยอมลงชื่อย่อมหมายความว่าผู้ป่วยทราบว่า
- วิธีการรักษาจะเป็นอย่างไร
- ทำไมจึงต้องรักษาด้วยวิธีนั้น
- มีความเสี่ยงอย่างใด
- มีวิธีการรักษาแบบทางเลือกอื่น ๆ อีกไหม และวิธีนั้นมีความเสี่ยงไหม
- หากปฏิเสธไม่รักษาจะมีความเสี่ยงเพียงใดหรือไม่
การให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูล แสดงว่าผู้ป่วยทราบข้อมูลเพียงพอก่อนที่จะตัดสินใจรับการรักษาหรือปฏิเสธการรักษา ทั้งยังแสดงว่าผู้ป่วยได้กระทำโดยปราศจากการข่มขู่
สำหรับผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถจะต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล
เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน
     การให้ความยินยอมในกรณีฉุกเฉิน ( Emergency )
ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุรุนแรงต้องทำการผ่าตัดโดยเร่งด่วน และไม่สามารถ
ติดต่อญาติได้ทัน หมอสามารถทำการผ่าตัดผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม ถือว่าหมอได้กระทำโดยไม่จำเป็นหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หมอไม่ต้องรับโทษ
     การกระทำโดยประมาท  ( Negligence)
 คดีที่ฟ้องหมอส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความประมาท หากผู้เสียหายพิสูจน์ได้ว่าหมอกระทำโดยประมาทจริง หมออาจต้องรับโทษทั้งทางอาญา ซึ่งอาจจะต้องติดคุกติดตะรางหรือถูกปรับ และยังจะต้องรับโทษทางแพ่ง ซึ่งจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายอีกด้วย
ความรับผิดทางอาญาฐานกระทำโดยประมาท
 องค์ประกอบความรับผิดทางอาญาฐานกระทำโดยประมาทบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรค 4 ความว่า
 “กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
 หากพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำโดยประมาทจริง ผู้กระทำผิดอาจได้รับโทษทางอาญาหนักเบา แตกต่างกันดังนี้
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291   “ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้
ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และ
ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ”
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291   “ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท”
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390  “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
สำหรับความรับผิดทางแพ่งเป็นเรื่องความทางละเมิด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 บัญญัติว่า
 “ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นกระทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
 คำว่าประมาททางอาญากับประมาทเลินเล่อทางแพ่งมีความหมายเหมือนกัน   กล่าวคือเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง   ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดมะวังเช่นนั้นได้ แต่หาใช้ให้เพียงพอไม่โดยเปรียบเทียบกับ
1. บุคคลที่มีความระมัดระวังตามฐานะในสังคมเช่นเดียวกับผู้กระทำผิด เช่นเด็กย่อมไม่อาจระมัดระวังได้เท่ากับผู้ใหญ่ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปอาจไม่ระมัดระวังได้ดีเท่ากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
2. พฤติการณ์ภายนอกทั่ว ๆ ไป คำพิพากษาำำฎีกาที่ 769/2510 : จำเลยเป็นหญิงอายุ 28 ปี ขับรถมาคนเดียวขณะหยุดรถรอสัญญาณไฟเมื่อเวลา 21 นาฬิกา มีคนร้ายเปิดประตูเข้าไปนั่งคู่และใช้ระเบิดมือขู่ให้ขับรถไป จำเลยตกใจขับรถฝ่าไฟออกไปชนรถที่แล่นสวนมาโดยไม่เจตนา พฤติการณ์เช่นนี้จะว่าการชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยไม่ได้
 จากตัวอย่างคำพิพากษาคดีนี้ เห็นได้ว่าเหตุที่จำเลยขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดงไปชนรถผู้เสียหายเป็นเพราะมีคนร้ายเปิดประตูเข้าไปนั่งคู่ จำเลยจึงเกิดอาการตกใจ ตามพฤติการณ์ดังกล่าว จะให้จำเลยใช้ความระมัดระวังเช่นปกติไม่ได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าจำเลยมิได้ประมาท http://www.lannatoday.net/index.php/-5/388-31-53-

แพทย์คิดเงินค่าเขียนใบเคลมประกันสุขภาพ

ญาติของผมไปรับการรักษาที่ รพ.รัฐบาลแห่งหนึ่ง และมีประกันสุขภาพกับบริษัทประกัน เมื่อการรักษาเสร็จสิ้นแล้วต้องให้แพทย์ผู้รักษาเป็นผู้เขียนใบเคลมประกัน เมื่อไปติดต่อเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งว่ามีค่าใช้จ่าย 200 บาท และเมื่อถามหาใบเสร็จจากทางโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่บอกว่า เป็นค่าเขียนของหมอ ไม่มีใบเสร็จ

1. โดยปกติแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐได้รับค่าตอบแทนการเขียนใบเคลมหรือไม่? หรือว่าเฉพาะบางโรงพยาบาล เท่านั้นที่คิดเงินกับผู้ป่วย?

2. ถ้าแพทย์สมควรได้รับค่าตอบแทนในการเขียนใบเคลม ใครควรเป็นผู้จ่ายเงินนี้ ผู้ป่วยหรือบริษัทประกัน?

3. กรณีข้างต้น ทำไมจึงไม่มีใบเสร็จ ร้องเรียนแพทยสภาได้หรือไม่?

โดยคุณ : พชม.29 - [ 28 มิ.ย. 2544 , 21:04:32 น. ]

ตอบ

เรื่องค่าธรรมเนียมการเขียนใบรับรองแพทย์ดังกล่าว ถูกกำหนดไว้ครับในระเบียบของแพทยสภาเลย ว่าแพทย์เรียกเก็บได้ เพราะ ไม่ได้เกี่ยวกับการให้บริการทางการแพทย์ ที่จะทำให้ผู้ป่วยหาย แต่จะเขียนเพื่อทำให้สัญญาระหว่าง ผู้เอาประกันและบริษัทประกันสมบูรณ์ และเรียกค่าตอบแทนต่าง ๆ ( ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ) ก็มีเช่น หยุดกี่วัน ต้องรักษานานเท่าใด ทำงานไม่ได้กี่วัน ผู้รับประโยชน์ คือ ผู้เอาประกันนั่นเอง ซึ่งถ้ามีการเคลมกันเฉพาะค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล บริษัทประกัน ก็สามารถเอาเวชระเบียนและบันทึกทางการเงิน ของโรงพยาบาลไปตรวจสอบ แล้วจ่ายได้เลย

ปัญหาไม่ใช่แค่นั้น เนื่องจากบริษัทประกัน ต้องให้แพทย์ให้ความเห็นหยุมหยิม เยอะแยะมาก เพื่อที่จะจับผิดว่าการรักษาครั้งนั้น มีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ เช่น ไม่เจ็บจริงหรือเปล่า มีการตรวจหรือรักษาใดที่ไม่จำเป็นหรือเปล่า ซึ่งถ้าแพทย์เขียนมีพิรุธ แพทย์คนนั้น ต้องรับผิด แต่คนไข้ คนนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องรับผิด ถ้าไปบังคับหมอให้เขียนโกงบริษัทให้

ดังนั้น การเขียนนี้ ต้องมีค่าธรรมเนียมเหมือนการบริการ อย่างหนึ่ง โดยไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลใด ๆ และไม่มีการกำหนดในระเบียบโรงพยาบาลหรือระเบียบทางรัฐบาลใดๆ ให้แพทย์ต้องเขียน และแพทย์ไม่เขียนก็ไม่มีความผิดใด ๆ ดังนั้นผู้ป่วยต้องมาขอให้แพทย์เขียน เหมือนมาขอความเห็นผู้เชี่ยวชาญครับ ไม่ใช่บริการพื้นฐาน

แต่เดิม ทางโรงพยาบาลก็เก็บค่าธรรมเนียมส่วนนี้ เข้าเงินบำรุง แล้ว เอาออกมาจ่ายให้แพทย์อีกครั้ง แต่ถูกทักท้วงโดย สตง. ไม่ให้เอาเงินนี้ มาเกี่ยวข้องกับเงินบำรุง เงินนี้ จึงต้องจ่ายให้กับแพทย์โดยตรง และถ้าทวงถามถึงใบเสร็จรับเงิน ใบเคลมประกันที่เขียนเสร็จแล้ว นำเอาไปเบิกได้ ก็ไม่ต่างจากใบเสร็จรับเงินแหละครับ เพราะมีลายเซ็นแพทย์

1 ที่เขียนมาทั้งหมด ตอบคำถามข้อ1
2 ใครจะจ่าย ให้ตกลงกันตั้งแต่ ทำสัญญาประกันครับ
3 ร้องเรียนแพทยสภา ก็ได้ครับ ต่อไปแพทย์จะได้ไม่ต้องเขียนอีก ส่วนที่สงสัยว่าทำไมไม่มีใบเสร็จให้ถาม สตง.

โดยคุณ : dr luam - [ 29 มิ.ย. 2544 , 13:34:09 น.]

http://www.cmu2807.com/index.php?option=com_content&task=view&id=37&Itemid=33

เคล็ดลับวิธีป้องกันการถูกผู้ป่วยฟ้อง

            คงไม่มีแพทย์คนใดปฏิเสธว่าสิ่งที่กลัวมากที่สุดเรื่องหนึ่งในการประกอบวิชาชีพของเราคือ กลัวการถูกผู้ป่วยหรือญาติฟ้อง  แพทย์จำนวนไม่น้อยหันไปประกอบอาชีพอื่น บทความนี้เป็นการนำเสนอความรู้จากการอ่านตำราจากต่างประเทศและแนวทางการบริหารจัดการสมัยใหม่รวมทั้งจากประสบการณ์ของตนเองและของเพื่อนๆพี่ๆ ซึ่งอาจถือไม่ได้ว่าเป็นสูตรสำเร็จแต่ถ้าใครปฏิบัติได้ตามแนวทางดังกล่าวเชื่อว่าในชีวิตความเป็นแพทย์คงรอดพ้นจากการฟ้องร้องเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ 

1) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย / ญาติ
         หัวข้อนี้มีความสำคัญอย่างมาก  ดังนั้นเราต้องพูดมากขึ้น และมีservice  mind อยู่เสมอ

2)  inform ( เพื่อ consent )


  •    ให้ข้อมูลมากพอที่ผู้ป่วยสามารถใช้ตัดสินใจได้
  • บอก major risk/complications
  • อย่าให้ผู้ป่วยตั้งความหวังในผลการรักษาไว้ 100 %

 3) complete medical record


  • อ่านง่าย
  • รายละเอียดครบถ้วน
4)  ทำในขอบเขตวิชาชีพ
 คือหลีกเลี่ยงการทำในสิ่งที่เราไม่ชำนาญ   เช่น เป็นรังสีแพทย์ก็ไม่ควรไปทำคลอด  
       
5) equipment : กรณีมีการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ  ต้องศึกษาเรื่องต่อไปนี้ให้ละเอียด


  • วิธีใช้งาน                                                              
  • complication  ที่สามารถเกิดได้จากการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้น                               
  • maintenance  คือต้องรู้วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือนั้น               
 6) ให้ความร่วมมือกับ risk management program
  เป็นเรื่องที่แพทย์มักละเลยไม่ค่อยเห็นถึงความสำคัญ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก  ไร้สาระ หรือเป็นการจ้องจับผิด  ซึ่งที่จริงแล้วหากแพทย์ให้ความร่วมมือ กระบวนการของ  risk management  จะช่วยสร้างระบบและช่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยมากขึ้น

7) improve&maintain quality care
    คือต้องมีการประเมินคุณภาพบริการและพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เสมอ  เพื่อมุ่งหวังให้ผู้รับบริการพึงพอใจและปลอดภัย

8)ระมัดระวัง  รอบคอบ  รู้เท่าทัน

9) learning organization
    -continuous learning (up-to-date) หมายความว่าแพทย์จะต้องมีการศึกษาหาความรู้ในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง  ไม่ล้าหลัง เพราะถ้าทำการรักษาแบบเก่าอาจถือว่า ไม่ได้มาตรฐาน    โดยวิธีการหาความรู้นอกจากการอ่าน   textbook journalหรือการอบรมดูงานแล้ว    การทำcase conference, peer review  ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้เพราะจะเกิดการ  แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์โดยที่เราไม่รู้ตัว
            - หมายเหตุ    ในตำราทางการบริหารจัดการสมัยใหม่ได้ห้ความสำคัญกับวัฒนธรรมขององค์กรที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมากเพราะจากการศึกษาองค์กรหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี  พบว่ามีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือองค์กรดังกล่าวมีการสร้างวัฒนธรรมจนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่วนองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นแม้ว่าจะประสบความสำเร็จได้แต่มักไม่มีความยั่งยืน

10)ทำตาม standard guidelines
            ปัจจุบันแผนกต่างๆมักมีการทำ clinical practice guideline ดังนั้นเมื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติในเรื่องนั้นๆขึ้นมาแล้วก็ผูกมัดให้แพทย์แผนกดังกล่าวปฏิบัติตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้  หากกระทำการเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานนั้นแล้วเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย ก็มักถูกมองว่าทำผิดมาตรฐานไว้ก่อน

11)ศึกษา&ทบทวนระเบียบ/ข้อตกลง
            เช่นเดียวกับเรื่อง practice guideline หน่วยงานต่างๆมักมีการกำหนดข้อตกลงหรือระเบียบปฏิบัติในเรื่องต่างไว้ซึ่งอาจเป็นการตกลงระหว่างหน่วยงานต่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกรวดเร็วหรือเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่นอาจมีการกำหนดว่าการย้ายผู้ป่วยหนักจาก ER ขึ้นICU ต้องมีแพทย์ตามไปส่ง ในกรณีนี้หากแพทย์ไม่ยอมไปส่งแล้วผู้ป่วยเกิดเสียชีวิตระหว่างอยู่ในลิฟท์ แพทย์อาจถูกฟ้องได้

12)หาความรู้กฎหมาย
เพื่อว่าจะได้รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรในบางสถานการณ์   เช่น
            ข้อบังคับของแพทย์สภา
            สิทธิผู้ป่วย
           ...ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่



นพ.พิทูร ธรรมธรานนท์
พบ. นบ.
เนติบัณฑิตไทย
www.medlawstory.com
ให้คุณรู้กฎหมายการแพทย์ได้ง่ายขึ้น



วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทำไม ? ห้ามเข้าห้องบัตร

*** ห้องบัตรคือพื้นที่จัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วย ซึ่งจัดเก็บความลับด้านสุขภาพของผู้ป่วย ***
คำประกาศสิทธิ์ผู้ป่วย ข้อ7ระบุว่า ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
       ข้อควรตระหนัก
      1.ไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการซึ่งได้ทราบมาจากการประกอบวิชาชีพเว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วย /ผู้ใช้บริการ หรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
      2.จัดเก็บรายงานไว้เป็นสัดส่วนไม่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ทีมสุขภาพหรือผู้ที่ไม่ได้รับรับการยินยอมจากผู้ป่วยได้เห็นข้อมูลทางสุขภาพของผู้ป่วย
      3.ไม่นำเรื่องของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการมาเป็นหัวข้อในการสนทนาโดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ป่วย  ยกเว้นต้องปฏิบัติตามหน้าที่



กรุณาอ่านเพิ่มเติมเรื่อง  คำประกาศสิทธิผู้ป่วย  และ ความลับผู้ป่วย


วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การคุ้มครองแพทย์ทางกฎหมาย

            การประการใช้  พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 เป็นต้นมา (ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 113 ตอนที่ 60 ก. วันที่ 14 พฤษภาคม 2539)  นับว่าเป็นมาตรการทางกฎหมายที่สำคัญที่จะคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทรวมทั้งบุคลกรด้านสุขภาพด้วยให้พ้นจากการถูกฟ้องคดีละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ 

            หลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ 

            1. คุ้มครองเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐทุกส่วนดังนิยามศัพท์ในกฎหมาย ดังนี้ 

            เจ้าหน้าที่หมายความว่า  ข้าราชการ  พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด 

            หน่วยงานของรัฐหมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม  ราชการส่วนภูมิภาค  ราชการส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ  ที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาและให้หมายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

ความลับผู้ป่วย

พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗ วางหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (data protection) ที่เป็นข้อมูลประวัติสุขภาพไว้คือ ข้อมูลสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล การเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลไม่อาจทำได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล หรือมีกฎหมายกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลได้

ข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๗ ดังกล่าว ถือเป็นสิทธิผู้ป่วยที่ควรได้รับการเคารพ ข้อยกเว้นที่จะเปิดเผยข้อมูลได้คือ เจ้าของข้อมูลยินยอมให้เปิดเผยได้ หรือมีกฎหมายบัญญัติให้เปิดเผยได้ เช่น โรงพยาบาลรัฐจะเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยได้ ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ สำหรับโรงพยาบาลเอกชนก็ควรปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน หรือหากมีโรคติดต่อระบาดขึ้น ก็สามารถเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยได้ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๒๓ อีกกรณีคือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ ย่อมสามารถทำได้เช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เวชระเบียน

เวชระเบียน (medical record) หมายถึง "รายงานคนไข้" คือ "เอกสารเรื่องราวเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์ทำขึ้นไว้ประกอบการรักษาผู้ป่วย ได้แก่ เอกสารดังต่อไปนี้
1) บัตรตรวจโรคภายนอก
2) รายงานผู้ป่วยภายใน
ดังนั้นเวชระเบียนจึงเป็นเอกสารหลายรายการรวมกันเป็นแฟ้มหรือเป็นเล่ม รวมเอกสารหลายๆ แผ่นเข้าด้วยกันซึ่งมีความสำคัญทางกฎหมาย" http://www.elib-online.com/physicians/
เวชระเบียน (Medical Records) ในขณะที่หมอและพยาบาลทำการรักษาและดูแลคนไข้ หมอและพยาบาลจะต้องบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้เป็นระเบียบ บันทึกข้อมูลการรักษาดังกล่าวเรียกว่าเวชระเบียน เวชระเบียนมีเพื่อประโยชน์ดังนี้

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Law

กฎหมาย (อังกฤษ: law) หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
ภาพของท่าน สวยงามและสื่อความหมายได้ชัดเจน เราขออนุญาตนำภาพของท่านมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมนะคะ หากขัดข้องประการใด รบกวนโทร 089-1326770